รับตรง รอบที่ 1 พอร์ตโฟลิโอ ครั้งที่ 2 ม. อุบลราชธานี ปี 2567
ประกาศจากมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิธีรับตรงรอบ Portfolio ครั้งที่ 2 ประจําปีการศึกษา 2567 โดยมีรายละเอียดการรับสมัครต่างๆ ดังนี้
1. คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครเข้าศึกษา มีดังต่อไปนี้
1.1 เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังนี้
1.1.1 กําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในปีการศึกษา 2566 หรือเป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
1.1.2 ผู้สมัครหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตต้องเป็นผู้ที่กําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2566 เท่านั้น
1.2 ไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษาตามที่หลักสูตรกําหนด
ทั้งนี้ หากปรากฏภายหลังการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์แล้ว พบว่า ผู้สมัครขาดคุณสมบัติตามข้อ 1.1-1.2 ข้อใดข้อหนึ่ง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือจงใจปกปิดข้อมูล ผู้มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์จะถูกตัดสิทธิในการคัดเลือกตามประกาศนี้เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าว
คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้
2.1 คณะเกษตรศาสตร์
2.1.1 ทํากิจกรรมจิตอาสาในหรือนอกโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดของสํานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนที่สังกัดส่วนราชการอื่น โรงเรียนเอกชนในสังกัด ของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนทางเลือก หรือ
2.1.2 เป็นทายาทของเกษตรกร หรือเจ้าของกิจการอาหารและสินค้าเกษตร ได้แก่ อาหารแปรรูป เครื่องดื่มแปรรูป ผลิตผลทางการเกษตร และสินค้าเกษตรอื่น ๆ
2.2 คณะวิทยาศาสตร์
2.2.1 เป็นผู้ที่ทํากิจกรรมจิตอาสาในหรือนอกโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดของ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนที่สังกัดส่วนราชการ
อื่น โรงเรียนเอกชนในสังกัด ของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนทางเลือก หรือ
2.2.2 เป็นผู้ที่กําลังศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาภายใต้โครงการโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเครือข่ายทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี และโรงเรียน หรือ
2.2.3 เป็นผู้ที่กําลังศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โรงเรียนที่สังกัด ส่วนราชการอื่น โรงเรียนเอกชนในสังกัดของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนทางเลือก
2.2.4 สําหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (กลุ่มที่สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)) มีการกําหนด คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเพิ่มเติม คือ เป็นผู้ที่กําลังศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาระดับ ปวส. เฉพาะ 7 กลุ่ม สาขาวิชา
ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล สาขาวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมและแอนิเมชัน และสาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทุกกลุ่มสาขาวิชาเรียนอย่างน้อย 2 ปี ยกเว้น สาขาวิชาเทคโนโลยี โทรคมนาคม เรียนอย่างน้อย 2 ปีครึ่ง
ทั้งนี้ ระยะเวลาสําเร็จการศึกษาขึ้นอยู่กับผลการเทียบรายวิชาและโอน หน่วยกิตวิชาในระดับ ปวส. และผลการศึกษาตลอดหลักสูตรของแต่ละรายบุคคลร่วมด้วย (ในการเทียบและโอน หน่วยกิตวิชาจาก ปวส. อาจมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกําหนด)
2.3 คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ประกอบด้วย สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเลือกสาขาวิชาเมื่ออยู่ชั้นปีที่ 2 โดยจํานวนในแต่ละสาขาเป็นไปตาม
ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์
กําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร ดังนี้
2.3.1 ผู้สมัครที่กําลังศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมเฉพาะ 14 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชา ช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากําลัง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชา สถาปัตยกรรม สาขาวิชาสํารวจ สาขาวิชาช่างเขียนแบบเครื่องกล สาขาวิชาช่างซ่อมบํารุง สาขาวิชาช่างต่อเรือ สาขาวิชาโทรคมนาคม สาขาวิชาโยธา และสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ หรือ
2.3.2 ผู้สมัครที่กําลังศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมเฉพาะ 8 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิค การผลิต สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
สาขาวิชาสํารวจ และสาขาวิชาโยธา
2.4 คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
2.4.1 เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมประกวดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม และได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป ไม่เกิน 4 ปี นับจากวันรับสมัคร หรือ
ข้อหนึ่ง ดังนี้
2.4.2 เป็นผู้ที่ทํากิจกรรมด้านพลเมืองจิตอาสาในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนในข้อใด
(ก) ทํากิจกรรมจิตอาสาในโรงเรียนทั้งที่เป็นโรงเรียนในสังกัดของสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนที่สังกัดส่วนราชการอื่น โรงเรียนเอกชนในสังกัด ของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนทางเลือกและต้องมีการทํากิจกรรมจริงอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้ โดยมีเอกสารหนังสือรับรองจากโรงเรียนที่ต้องรับรองการทํากิจกรรมจริง หรือ
(ข) ทํากิจกรรมจิตอาสานอกโรงเรียนที่จัดโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ ภาคเอกชน หรือ ภาคชุมชน หรือ องค์กรเอกชน โดยต้องมีการทํากิจกรรมจริง อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ โดยมีเอกสารรับรองจากหน่วยงานที่จัดกิจกรรม หากไม่มีองค์กรใดรับรองให้สถานศึกษาที่
2.5 คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นผู้ที่กําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2566 ต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(ก) TOEFL ไม่น้อยกว่า 53 (IBT), 477 (ITP), 123 (CBT) หรือ
(ข) IELTS ไม่น้อยกว่า 4.5 หรือ
(ค) TU-GET ไม่น้อยกว่า 500 หรือ
(ง) CU-TEP ไม่น้อยกว่า 60 หรือ
(จ) UBU TEST ไม่น้อยกว่า 50 หรือ
(ฉ) KEPT ไม่น้อยกว่า 50
ทั้งนี้ ผู้สมัครหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ต้องนําส่ง 1) เอกสารสําเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) จํานวน 5 ภาคการศึกษา (ด้านหน้า-ด้านหลัง) และ 2) เอกสารผลคะแนน การทดสอบภาษาอังกฤษ หากไม่ดําเนินการภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกําหนด มหาวิทยาลัยจะถือว่า การสมัครไม่สมบูรณ์ และตัดสิทธิการเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไป
2.6 วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มีคุณสมบัติ ดังนี้ เป็นผู้ที่กําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา 2566
มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีจํานวนหน่วยกิตกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระคณิตศาสตร์รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต เมื่อเรียนครบ 6 ภาคเรียน ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนําส่ง
1) เอกสารสําเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) จํานวน 5 ภาคการศึกษา (ด้านหน้า-ด้านหลัง) และ 2) ใบรับรองจํานวนหน่วยกิตกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และกลุ่ม สาระคณิตศาสตร์ตามข้อ
2.6 หากไม่ดําเนินการภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกําหนด มหาวิทยาลัยจะถือว่า การสมัครไม่สมบูรณ์ และตัดสิทธิการเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไป
2.7 คณะเภสัชศาสตร์ เป็นผู้ที่กําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2566 มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(ก) ผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ ระดับไม่น้อยกว่าค่าย 1 (เคมี, ชีววิทยา,ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, คอมพิวเตอร์) หรือ
(ข) เป็นนักเรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรงเรียนกําเนิดวิทย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย หรือ
(ค) ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่
1. โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกํากับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
2. โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์(วคทส./SMTE) และเทคโนโลยี (พสวท.) คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (GIFTED) หรือ
3. โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
4. โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์
5. โครงการพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ (EEP) หลักสูตรวิทยาศาสตร์
6. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (AP)
7. โครงการห้องเรียนส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(ง) เป็นผู้ที่มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1. TOEFL ไม่น้อยกว่า 53 (IBT), 477 (ITP), 123 (CBT) หรือ
2. IELTS ไม่น้อยกว่า 4.5 หรือ
3. TU-GET ไม่น้อยกว่า 500 หรือ
4. CU-TEP ไม่น้อยกว่า 60 หรือ
5. UBU TEST ไม่น้อยกว่า 50 หรือ
6. KEPT ไม่น้อยกว่า 50
ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนําส่ง 1) เอกสารสําเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) จํานวน 5 ภาคการศึกษา (ด้านหน้า-ด้านหลัง) และ 2) ใบรับรองตามข้อ 5.7 หากไม่ดําเนินการภายในระยะเวลา ที่มหาวิทยาลัยกําหนด มหาวิทยาลัยจะถือว่าการสมัครไม่สมบูรณ์ และตัดสิทธิการเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก
รายละเอียดการรับสมัคร อื่นๆ : เอกสารประกาศ !!
กำหนดการรับสมัคร : วันนี้ ถึง 3 มกราคม 2567
ขอบคุณข้อมูล : admission.ubu.ac.th/admission/home