ประจำเดือน ปวดท้อง

PMS และ PMDD อาการก่อนมี ประจำเดือน อาการที่ผู้หญิงเป็นที่ผู้ชายอาจไม่รู้

PMS และ PMDD อาการก่อนมี ประจำเดือน อาการที่ผู้หญิงเป็นที่ผู้ชายอาจไม่รู้

สำหรับคุณผู้ชายทั้งหลายคงสงสัยกันว่า ทำไมคุณผู้หญิงหงุดหงิดง่ายผิดปกติ อยู่ๆ ก็เหวี่ยง อยู่ๆ ก็บ่น แปลกจัง และก็ชอบพูดว่า คุณประจำเดือนมาหรือเปล่า ส่วนคุณผู้หญิง ก็มักจะตอบว่าอาจจะใช่ หรือ ใช่ คุณรู้ได้ยังไงซึ่งมันเหมือนเป็นอาการปกติ ที่มักจะเกิดให้เห็นอยู่บ่อยๆ

สำหรับคุณผู้หญิงในช่วงเวลาที่ ประจำเดือน มา และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไม คุณผู้หญิง ถึง มีอาการหงุดหงิดง่าย หรือ อารมณ์แปรปรวนแบบนี้ เรามาหาคำตอบกัน

เจ้าอาการปวดท้องน้อย ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย มันจะเป็นกลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน

ซึ่งมีชื่อว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2–3 วัน กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ได้

มาแยกอาการกันหน่อย ว่า PMS และ PMDD ต่างกันอย่างไรบ้าง ??

อาการของ PMS มีดังนี้

1. อาการทางด้านอารมณ์  : หงุดหงิด เครียด โกรธง่าย วิตกกังวล กระวนกระวายใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
2. อาการทางด้านร่างกาย: เหนื่อยง่าย อ่อนล้า มีการบวมของร่างกาย อยากอาหารมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องเสียหรือท้องผูก คัดตึงเต้านม เป็นสิว นอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และบางรายมีอาการนอนไม่หลับ

สาเหตุการเกิด PMS

สาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน) ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ปัญหาจากความเครียด

และอาการของ PMDD มีดังนี้

ถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 5 ข้อ แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็น PMDD ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

1. ซึมเศร้า หมดหวัง คิดทำร้ายตัวเอง

2. วิตกกังวลและเครียด

3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

4. อารมณ์ไม่มั่นคงโกรธง่าย

5. ไม่สนใจชีวิตประจำวันและไม่สนใจคนรอบข้าง

6. ไม่มีสมาธิ

7. อ่อนเพลีย

8. กินจุ กินบ่อย

9. นอนไม่หลับ

10. ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

11. อาการทางกายได้แก่ แน่นท้อง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ปวดข้อ

การรักษา และการวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคทั้ง PMSและPMDD ขึ้นอยู่กับอาการที่จำเพาะ,ช่วงเวลา, ความรุนแรง และการวินิจฉัยแยกโรคอื่นออกไปก่อน

ซึ่งทั้ง 2 โรค ต้องการการจดบันทึกอาการต่างๆในแต่ละวัน และอาการตามรอบประจำเดือนเหล่านั้นต้องมีความเกี่ยวของตามช่วงของ luteal phasesและ menstrual phasesในแต่ละรอบประจำเดือน และมีหลักฐานว่ามีการสูญเสียหน้าที่ทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยหลังจากให้บันทึกอาการในแต่ละวันตามรอบประจำเดือนพบว่า ผู้หญิงจำนวนมากเกือบร้อยละ40 ซึ่งเชื่อว่าเป็น PMS แต่ไม่ได้มีอาการในรูปแบบที่เป็นตามรอบประจำเดือนชัดเจน ซึ่งอาจต้องการการตรวจวินิจฉัยสำหรับโรคอื่นๆต่อไปเช่น mood disordersหรือ anxiety disorder เป็นต้น

การรักษาโรค

ก็จะมีตั้งแต่

1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา

แนะนำหลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ สุรา หลีกเลี่ยงของหวาน อาหารเค็ม อาหารรสจัด

ออกกำลังกายประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้ร่างกายผลิตสารเอ็นโดฟิน (endorphine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีความสุขและช่วยลดความเครียด รับประทานวิตามินบี 6 วิตามินอี แคลเซียม และแมกนีเซียม ตามคำแนะนำของแพทย์ นอนพักให้เพียงพอ ลดความเครียด

2. การรักษาโดยใช้ยา

กลุ่มยาที่รักษาอาการซึมเศร้า คลายกังวล ช่วยลดอาการหงุดหงิด เศร้า หรือก้าวร้าว โดยการสั่งจ่ายยาในกลุ่มนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

ยาแก้ปวดรับประทานตามอาการ

3. การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน

อาจใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิงที่มีฮอร์โมนต่ำ เช่น ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล จะช่วยลดอาการทางกายได้

4. การรักษาโดยใช้จิตบำบัด

.

ขอบคุณข้อมูล จาก    : w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1107:the-premenstrual-syndrome-and-premenstrual-dysphoric-disorder-pms-and-pmd&catid=45&Itemid=561 , pharmacy.mahidol.ac.th/DIC/knowledge_full.php?id=36

ภาพประกอบ จาก   :  neversurrender.in.th/อย่าละเลย-อาการ-ปวดท้อง