รับสมัครสอบเพื่อรับ ทุนเล่าเรียนหลวง และทุนรัฐบาลฯ สำนักงาน กพ. ปี67
ด้วยสำนักงาน ก.พ. จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อรับ ทุนเล่าเรียนหลวง และทุนรัฐบาล ประจำปี 2567 ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (9)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551
และระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 รวมไปถึงทุนรัฐบาลอื่นๆ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันพร้อมทั้งกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. ทุนประเภทต่างๆ
1.1 ทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2567
1.2 ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2567
1.3 ทุนกระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี 2567
1.4 ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ ประจำปี 2567
2. ข้อผูกพันในการรับทุน
2.1 ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาในการรับทุน
2.2 กรณีผู้ได้รับทุนไม่กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย จะต้องชดใช้เงินคืนเท่ากับจำนวนเงินทุนที่ได้รับไป
3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ ผู้มีสิทธิสมัครสอบต้องมีคุณสมบัติดังนี้
3.1 มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยกเว้นคุณสมบัติทั่วไปในเรื่องอายุตามมาตรา 36 ก. (2) ผู้สมัครมีอายุต่ำกว่า18 ปี ได้
3.2 มีอายุไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2566
3.3 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 3.50
และเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.50 (ในระบบการวัดผลที่คิดคะแนนให้ A=4, B=3, C=2, D=1, E หรือ F=0) ผู้สมัครสอบที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมา
หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องมีหนังสือรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษามาแสดงว่าเป็นผู้มีผลการเรียนเทียบเท่ากับผลการเรียนทีกำหนดไว้ หากผู้ใดไม่มีหนังสือรับรองผลการเรียนมาแสดง จะถือว่าไม่มีสิทธิในการสมัครสอบครั้งนี้
3.4 ไม่สอบตกในวิชาหนึ่งวิชาใดตลอดหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
3.5 มีศีลธรรม และความประพฤติดี
3.6 ไม่อยู่ในระหว่างการรับทุนที่มีสัญญาผูกพันในการปฏิบัติงานชดใช้ทุน หรือตอบแทนทุนใด ๆ ยกเว้น จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของทุนให้สมัครสอบได้และได้ส่งหนังสืออนุญาตดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ. ภายในวันสอบข้อเขียน
3.7 ผู้สมัครสอบผู้ใดไม่มีคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3.1 ไม่มีสิทธิเข้าสอบ หรือได้รับทุน
4. การรับสมัครสอบ
4.1 ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ ดูรายละเอียดทางอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. ที่ http://www.ocsc.go.th , http://scholar2.ocsc.go.th พร้อมทั้งสามารถพิมพ์แบบฟอร์มที่ใช้ในการสมัครสอบได้ในเว็บไซต์ดังกล่าว
4.2 กำหนดวันรับสมัครสอบ และวิธีการสมัคร
4.2.1 ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอน ดังนี้
(1) เปิดเว็บไซต์ http://scholar2.ocsc.go.th
(2) กรอกข้อความให้ถูกต้องและครบถ้วน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ระบบจะออกเลขประจำตัวสอบและแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้โดยอัตโนมัติ
(3) พิมพ์ใบสมัครและแบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษขนาด A4 จำนวน 3 แผ่น หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้บันทึกข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูลในกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์ใบสมัครและแบบฟอร์มการชำระเงิน
หรือบันทึกข้อมูลได้ผู้สมัครสอบสามารถเข้าไปพิมพ์ใบสมัครและแบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลใหม่ได้อีกแต่จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในการกรอกใบสมัครในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วได
4.2.2 นำแบบฟอร์มการชำระเงินไปชำระเงินเฉพาะที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขาทั่วประเทศ ชื่อบัญชี “ค่าธรรมเนียมสอบทุนของ ก.พ.” ตั้งแต่วันที่สมัครสอบ จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ภายในเวลาทำการของธนาคาร การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์ เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้ว
4.2.3 ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบประกอบด้วย
(1) ค่าธรรมเนียมสอบ หน่วยละ ๑๐๐ บาท
(2) ค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต จำนวน ๓๐ บาท ค่าธรรมเนียม ฯ จะไม่จ่ายคืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
4.2.4 ผู้สมัครสอบสมัครได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
4.2.5 การสมัครสอบตามขั้นตอนข้างต้น ถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อ และรับรอง ความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น หากผู้สมัครสอบจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 137
4.3 เอกสารและหลักฐานที่ต้องยื่นในวันสอบข้อเขียน
4.3.1 ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ติดรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 x 1.5 นิ้ว ไม่สวมหมวกไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร ลงลายมือชื่อในใบสมัครให้ครบถ้วน
4.3.2 สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 ชุด
4.3.3 หนังสือรับรองความประพฤติและความเหมาะสมในการสมัครรับทุนจากอาจารย์ประจำชั้น หรือผู้อำนวยการโรงเรียน (ตามแบบฟอร์ม สนง. ก.พ. 1)
4.3.4 หนังสืออนุญาตให้มาสมัครสอบจากหน่วยงานเจ้าของทุน กรณีผู้สมัครตามข้อ 3.5
4.3.5 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตร หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ชุด สำเนาเอกสารทุกฉบับให้เขียนรับรอง“สำเนาถูกต้อง”ลงชื่อ วันที่ ระบุเลขประจำตัวสอบกำกับไว้ที่มุมบนด้านขวาของเอกสารทุกฉบับ และให้บรรจุเอกสารดังกล่าวในซองเอกสารขนาด A4 เขียนชื่อ – นามสกุล
เลขประจำตัวสอบไว้ที่หน้าซอง
4.4 ในการสมัครสอบ ผู้สมัครสอบจะต้องตรวจสอบและรับรองตนเองว่ามีคุณสมบัติตรงตาม ประกาศรับสมัครสอบจริง รวมทั้งกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครสอบผู้ใดมีคุณสมบัติไม่ตรงตามประกาศรับสมัครสอบ
หรือมีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบจะถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบในครั้งนี้มาตั้งแต่ต้น และจะไม่คืนค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ
4.5 ในการสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนฯ
4.5.1 ผู้สมัครสอบมีสิทธิสมัครสอบได้ไม่เกิน 2 ประเภททุน
4.5.2 ในแต่ละประเภททุนผู้สมัครสอบมีสิทธิสมัครสอบได้ประเภททุนละ 1 หน่วยทุน
4.6 ผู้ที่ได้สมัครสอบไว้แล้ว จะขอเพิ่ม ถอน หรือขอเปลี่ยนหน่วยที่สมัครสอบไว้ไม่ได้และหากผู้สมัครสอบระบุชื่อประเภททุนกับหน่วยทุนไม่ตรงกันจะถือหน่วยทุนเป็นสำคัญ
4.7 ผู้สมัครสอบที่เป็นผู้พิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย หรือทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงวันที่ 30 เมษายน 2552 เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ. จะพยายามจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ในวันสอบตามที่แจ้งไว้กับสำนักงาน ก.พ. และตามที่สำนักงาน ก.พ. เห็นสมควร
5. การแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการสอบ
5.1 ก.พ. จะแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ
5.2 คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ จะแต่งตั้งกรรมการออกข้อสอบประจำวิชาและกรรมการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุน
5.3 คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ จะกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ กำหนดระเบียบและวิธีการสอบแข่งขัน ตัดสินปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครสอบและปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการสอบแข่งขันที่ไม่ขัดกับประกาศรับสมัคร และพิจารณาผู้ได้รับทุนแทน
5.4 คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ จะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบแข่งขันฯ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับทุนและประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับทุนแทน โดยให้ประธานกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ หรือกรรมการที่ประธานมอบหมายเป็นผู้ประกาศให้ผู้สมัครสอบทราบ
6. การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบและวิธีการสอบแข่งขันสำนักงาน ก.พ. จะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบและวิธีการสอบแข่งขันในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ทางเว็บไซต์ ที่ http://www.ocsc.go.th , http://scholar2.ocsc.go.th
หัวข้อการประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบและวิธีการสอบแข่งขัน
7. หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
รายละเอียดหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
8. เกณฑ์การตัดสิน
8.1 ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุน จะต้องเข้าสอบทุกวิชาในหน่วยทุนที่สมัครสอบและเป็นผู้สอบได้คะแนนข้อเขียน ดังนี้
8.1.1 วิชาภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
8.1.2 คะแนนรวมวิชาเฉพาะแต่ละหน่วย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
8.1.3 คะแนนรวมทุกวิชาสูงสุดลงมาตามลำดับไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนทุน
ในการสอบครั้งนี้คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ จะตรวจข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษของผู้สมัครสอบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมดก่อนแล้วจึงตรวจข้อสอบวิชาอื่น ๆ เฉพาะผู้สมัครสอบที่ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (mean) ของผู้เข้าสอบทั้งหมด
8.2 ผู้สอบแข่งขันได้ในแต่ละหน่วยจะต้องได้คะแนนประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
๘.๓ ผู้สอบแข่งขันได้ที่ได้คะแนนการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนสูงสุดมีสิทธิได้รับทุนก่อนผู้สอบแข่งขันได้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าลงมาตามลำดับ ถ้าได้คะแนนประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้คะแนนข้อเขียนและคะแนนประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนรวมสูงสุดมีสิทธิได้รับทุนก่อนผู้ได้รับคะแนนรวมต่ำกว่าลงมาตามลำดับ
ถ้าผู้สอบแข่งขันได้ได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่ามีสิทธิได้รับทุนก่อน ถ้าได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษเท่ากันอีกให้สัมภาษณ์ (เฉพาะผู้ได้คะแนนรวมเท่ากัน) เป็นภาษาอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง และผู้ได้คะแนนสัมภาษณ์สูงกว่ามีสิทธิได้รับทุนก่อน
8.4 ผู้สอบแข่งขันได้ที่มีสิทธิได้รับทุนหลายประเภทจะได้รับทุนที่ได้เลือกไว้ในใบสมัครรับทุนเป็นลำดับแรกก่อน และเมื่อมีสิทธิได้รับทุนประเภทใด หรือหน่วยใดแล้ว จะถือว่าสละสิทธิการรับทุนที่เหลือทั้งหมด
8.5 คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ จะประกาศรายชื่อเฉพาะผู้มีสิทธิได้รับทุนเท่านั้น
8.6 ผู้มีสิทธิได้รับทุนรายใดไม่มารายงานตัวตามวัน เวลา และสถานที่ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดจะถือว่าสละสิทธิการรับทุน
8.7 ถ้าผู้มีสิทธิได้รับทุนสละสิทธิการรับทุน หรือถูกเพิกถอนการให้ทุน หรือไม่สามารถรับทุนได้หรือปรากฏภายหลังว่าขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ ซึ่งยังอยู่ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับทุน
คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ จะพิจารณาให้ผู้ที่สอบแข่งขันได้ในลำดับถัดไปของทุนหน่วยนั้น และยังมิได้รับทุนใดในการสอบครั้งเดียวกันนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับทุนแทน
8.8 กรณีทุนหน่วยใดไม่มีผู้สมัคร หรือไม่มีผู้มีสิทธิได้รับทุน หรือมีผู้มีสิทธิได้รับทุนไม่ครบตามจำนวนคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกฯ อาจพิจารณาให้ผู้สอบแข่งขันได้จากทุนหน่วยอื่นเป็นผู้มีสิทธิได้รับทุนแทน
9. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงหลังจากประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับทุนแล้วผู้มีสิทธิได้รับทุน เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะต้องนำหลักฐานแสดง
ผลการเรียน (สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนตลอดหลักสูตร) จำนวน 1 ชุด ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี
10. การรายงานตัวและการอบรม
ผู้มีสิทธิได้รับทุนจะต้องไปรายงานตัวและเข้ารับการอบรมตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
11. การตรวจสุขภาพและอนามัย
ผู้มีสิทธิได้รับทุนต้องไปรับการตรวจสุขภาพและอนามัยจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ตามวันเวลา และสถานที่ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ผลการตรวจสุขภาพและอนามัยของคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ให้ถือ เป็นที่สุด ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพและอนามัยไม่มีสิทธิขอให้ทบทวนแต่ประการใด
๑๒. การทำสัญญา
ผู้มีสิทธิได้รับทุนต้องทำสัญญาตามแบบสัญญาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ จะทำสัญญาได้ต่อเมื่อมีผลการตรวจสุขภาพและอนามัยจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ที่ระบุว่าพร้อมที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศได้
13. การรับเงินทุน
ผู้ได้รับทุนจะได้รับเงินทุนเมื่อทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว โดยจะได้รับค่าใช้จ่าย เช่น ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินไป-กลับ ค่าใช้จ่ายเตรียมตัวก่อนเดินทาง ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือและอุปกรณ์ การศึกษา ค่าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
14. การเพิกถอนการให้ทุน
ก.พ. จะพิจารณาเพิกถอนการให้ทุนแก่ผู้ได้รับทุน หากเข้ากรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
14.1 ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำกว่า 3.50
14.2 ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพและอนามัยจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.
14.3 หลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการรายงานตัวเพื่อรับทุน หรือไม่เดินทางไปศึกษาวิชาณ ต่างประเทศ ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
14.4 เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือไม่เหมาะสม หรือไม่ประพฤติตนตามแนวทางที่ ก.พ. กำหนด
เอกสารประกาศ : เอกสารการรับสมัคร !!
กำหนดการรับสมัคร : สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูล : scholar2.ocsc.go.th