โครงการผลิตแพทย์ชนบท คณะแพทยศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ปี 68

รับตรง 68 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท คณะแพทยศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เห็นสมควรเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาใน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 จึงขอประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก ดังต่อไปนี้

1. นโยบายการรับเข้าและคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

2. ประกาศคุณสมบัติภูมิลำเนาพื้นที่การรับและโควตาการรับนิสิต/นักศึกษาแพทย์ ประจำปีการศึกษา 2568 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

3. โครงการการรับเข้าศึกษาและจานวนรับเข้าศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

3.1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปกติ)

3.1.1 รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) จำนวน 10 คน

3.1.2 รอบโควตา

3.1.2.1 โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4 คน

3.1.2.2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จำนวน 105 คน

3.1.2.2.1 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สระบุรี จำนวน 30 คน

3.1.2.2.2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน

3.1.2.2.3 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จำนวน 15 คน

3.1.2.2.4 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.พุทธโสธร จำนวน 30 คน

3.1.3 รอบ admission ผ่านระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย จำนวน 70 คน

คุณสมบัติ เงื่อนไข ขั้นตอน การสมัคร

การสอบคัดเลือกและตัดสินผลโดยผ่านระบบรับตรง (Direct Admissions) ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่ www9.si.mahidol.ac.th

3.2 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) รับตรงร่วมกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ จุฬาภรณ์ (CICM)

รายละเอียดเงื่อนไขการรับสมัครตามประกาศของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ www.tuadmissions.in.th

คุณสมบัติเฉพาะหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ด้วยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้เหมาะสมโดยยึดหลักการสาคัญ 3 ข้อ คือ

(1) ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

(2) ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ศึกษาแพทย์เอง และ

(3) เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร ดังต่อไปนี้

1. ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้วโดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว
หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาล ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย

2. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้

3. มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

4. เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน
และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

5. เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองต่อผู้ป่วยและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

6. มีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

7. มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2000 เฮิรตซ์สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคาพูด (speech
discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

8. มีความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดีเมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้วแย่กว่า 6/12 หรือ 20/40

9. โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
คณบดีคณะแพทยศาสตร์อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้ คณะแพทยศาสตร์ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตัดสินซึ่งผลการพิจารณาของคณะแพทยศาสตร์ถือเป็นที่สิ้นสุดในกรณีที่ตรวจร่างกายแล้ว

ปรากฏว่าผลการตรวจผิดปกติในกรณีของการเห็นภาพ การได้ยิน และจิตเวชให้ผู้สมัครมาตรวจซ้าเพื่อยืนยันโดยคณะกรรมการแพทย์ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่งตั้งเท่านั้น

คุณสมบัติเฉพาะโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

1. มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

2. ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6และต้องศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตลอดจนจบหลักสูตรรวมทั้งต้องมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่กาหนด

3. ผู้สมัคร และ บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่สมัครต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร (หากบิดาหรือมารดาที่เป็นข้าราชการโยกย้ายออกจากพื้นที่ตามคาสั่งก่อนครบ 5 ปี ต้องแสดงเอกสารการโยกย้ายเพื่อขออนุโลม) โดยมีทะเบียนบ้านเป็นหลักฐานสำคัญตามพื้นที่จังหวัดที่กำหนด ( ดูได้ในระเบียบการ )

เงื่อนไขการสมัคร

ผู้ที่สมัครโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทแล้ว

ไม่สามารถสมัครในกลุ่มโครงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังต่อไปนี้

1. โครงการธรรมศาสตร์ช้างเผือก

2. โครงการนักเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

3. โครงการส่งเสริมนักเรียนเรียนดีภาคกลาง

4. โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นด้านวิชาการ (สอวน. และ สสวท.)

5. โครงการนักศึกษาผู้มีความสามารถดีเด่นในการกีฬา

6. โครงการรับนักเรียนพลเมืองจิตอาสาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7. โครงการโควตาพื้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

8. โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม  :  เอกสารประกาศ !!

สำรอง  :  https://med.tu.ac.th/?page_id=2521

กำหนดการรับสมัคร  :  วันที่ 3 – 18 มีนาคม 2568

.

ขอบคุณข้อมูล  :  https://med.tu.ac.th

By ADMIN 2

error: Content is protected !!