รับตรง รอบ Portfolio แพทย์ CPIRD ม. อุบลราชธานี ปี 2567
มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิธีรับตรงรอบ Portfolio โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต) วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๗
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๓๓ ประกอบกับความในข้อ 4 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการศึกษา ระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบกับคณะกรรมการอํานวยการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย อุบลราชธานีในการประชุม ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ มหาวิทยาลัยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่อง การรับสมัครคัดเลือก บุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิธีรับตรงรอบ Portfolio โครงกา
ผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต) วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๗
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
“ผู้สมัคร” หมายความว่า นักเรียนที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตลอดหลักสูตร และกําลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ มารดา”
“ผู้ปกครองตามกฎหมาย” หมายความว่า บุคคลที่ศาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อดูแลผู้เยาว์แทนบิดา
“ข้าราชการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการฝ่าย ตุลาการ ข้าราชการอัยการ เป็นต้น
ข้อ ๔ คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครเข้าศึกษา มีดังต่อไปนี้
๔.๑ เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
๔.๒ มีคุณสมบัติและสามารถที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้ หลังจากสําเร็จการศึกษา ตามสัญญาการเป็นนักศึกษาเพื่อศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ตามโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทกําหนด
๔.๓ ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค ความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
๔.๓.๑ ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและหรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทาง จิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๔.๓.๒ โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๔.๓.๓ โรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๔.๓.๔ ความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๔.๓.๕ ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ ๕๐๐ – ๒,๐๐๐ เฮิรตซ์ สูงกว่า ๔๐ เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคําพูด (speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๔.๓.๖ ความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นตาแล้ว แย่กว่า ๖/๑๒ หรือ ๒๐/๔๐
๔.๓.๗ โรคหรือความพิการอื่นใดที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขอาจแต่งตั้ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้
ทั้งนี้ หากปรากฏภายหลังการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์แล้วพบว่าผู้สมัคร
ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๔.๑ – ๔.๓ ข้อใดข้อหนึ่ง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือจงใจปกปิดข้อมูล ผู้มีสิทธิเข้าสอบ สัมภาษณ์จะถูกตัดสิทธิในการคัดเลือกตามประกาศนี้เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าว
ข้อ ๕ คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร โดยแบ่งกลุ่มการรับสมัคร ดังนี้
๕.๑ กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (Community Track)
๕.๑.๑ ผู้สมัครและบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายต้องมีทะเบียนบ้าน อยู่ในจังหวัดที่สมัคร ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดอํานาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๕ ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร (หากบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ที่เป็นข้าราชการต้องโยกย้าย ให้มีเอกสารยืนยันการโยกย้าย)
๕.๑.๒ ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตลอด หลักสูตร และกําลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัด หรือโรงเรียนกลุ่มจังหวัดไม่เกินในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด ดังนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครพนม จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดสกลนคร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดหนองบัวลําภู จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอํานาจเจริญ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์
๕.๑.๓ มีผลการเรียนสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม ๕ ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ มีผลการเรียนสะสม (GPAX) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ และกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ มีจํานวนหน่วยกิต กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๑๐ หน่วยกิต และกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า ๒๒ หน่วยกิต เมื่อเรียนครบ 5 ภาคเรียน
๕.๑.๔ มีคะแนนผลการทดสอบ TGAT (ความถนัดทั่วไป) ที่จัดสอบโดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๗
๕.๑.๕ มีคะแนนผลการทดสอบวัดความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้สมัครสามารถใช้คะแนนสอบ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้มีรายละเอียดดังนี้
๕.๑.๕.๑ TOEFL (ITP) ไม่น้อยกว่า ๔๗๗
๕.๑.๕.๒ TOEFL computer based ไม่น้อยกว่า ๑๕๓ ๕.๑.๕.๓ TOEFL (IBT) ไม่น้อยกว่า ๕๓
๕.๑.๕.๔ Academic (IELTS) ไม่น้อยกว่า ๕.๐
๕.๑.๕.๕ CU-TEP ไม่น้อยกว่า ๖๘
๕.๑.๖ ผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการระดับไม่น้อยกว่าค่าย ๑ (เคมี, ชีววิทยา, ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์) (ถ้ามี)
๕.๒ กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Track)
๕.๒.๑ ผู้สมัครและบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายต้องมีทะเบียนบ้าน อยู่นอกเขตอําเภอเมืองในจังหวัดที่สมัคร ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดอํานาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๕ ปี จนถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
(หากบิดาหรือมารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมายที่เป็นข้าราชการต้องโยกย้ายให้มีเอกสารยืนยันการโยกย้าย) ยกเว้นจังหวัดอํานาจเจริญ ผู้สมัครที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในและนอกเขตอําเภอเมืองสามารถสมัครได้
๕.๒.๒ ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดหลักสูตร และกําลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัด เดียวกันกับทะเบียนบ้านของผู้สมัคร
๕.๒.๓ มีผลการเรียนสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม ๕ ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ มีผลการเรียนสะสม (GPAX) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ และกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ
ไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ มีจํานวนหน่วยกิต กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๑๐ หน่วยกิต และกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า ๒๒ หน่วยกิต เมื่อเรียนครบ 5 ภาคเรียน
๕.๒.๔ มีคะแนนผลการทดสอบ TGAT (ความถนัดทั่วไป) ที่จัดสอบโดยสมาคม ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๗
๕.๒.๕ มีคะแนนผลการทดสอบวัดความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้สมัครสามารถใช้คะแนนสอบ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้ มีรายละเอียดดังนี้
๕.๒.๕.๑ TOEFL (ITP) ไม่น้อยกว่า ๔๗๗
๕.๒.๕.๒ TOEFL Computer based ไม่น้อยกว่า ๑๕๓ ๕.๒.๕.๓ TOEFL (IBT) ไม่น้อยกว่า ๕๓
๕.๒.๕.๔ Academic (IELTS) ไม่น้อยกว่า ๕.๐
๕.๒.๕.๕ CU-TEP ไม่น้อยกว่า ๖๘
๕.๒.๖ ผ่านการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการระดับไม่น้อยกว่าค่าย ๑ (เคมี,ชีววิทยา, ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์) (ถ้ามี)
.
รายละเอียดการรับสมัคร : เอกสารประกาศ !!
กำหนดการรับสมัคร : รับสมัคร : 6 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2566
ขอบคุณข้อมูล : admission.ubu.ac.th/admission/home