คุณสมบัติ และขั้นตอน ในการขอยื่นกู้ กยศ กรอ
เชื่อเลยว่าน้องๆ หลายคนคงกังวลอยู่แน่ว่า หากเราเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ จะมีค่าเทอมไหม จะพอหรือเปล่า ในบทความนี้พี่ก็มีข้อมูลของ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาอย่าง กยศ และ กรอ มาฝากกัน หากใครที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย และกำลังหาทุนการศึกษาอยู่ ลองไปศึกษาข้อมูลกันดูนะจ้ะ
คุณสมบัติผู้ขอยื่นกู้ กยศ และ กรอ
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
1) ผู้ขอรับทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.1) มีสัญชาติไทย
1.2) อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
1.3) เป็นนิสิตหรือนักศึกษารายใหม่ที่ขอรับทุนเพื่อเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2555 ที่มิใช่ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) หรือเป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่เป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่เปลี่ยนระดับจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทั้งสายสามัญและสายอาชีพเป็นระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงหรือเทียบเท่าระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา 2555
1.4) เป็นนิสิตหรือนักศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือเทียบเท่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตอบรับให้เข้าศึกษา โดยผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
2) นิสิตหรือนักศึกษาผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่มีรายชื่อเข้าร่วมโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามประกาศของสำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
3) นิสิตหรือนักศึกษาผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องศึกษาในระดับการศึกษาและหลักสูตร/ประเภทวิชาและสาขาวิชา ดังนี้
3.1) ระดับการศึกษา ระดับอนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือเทียบเท่า ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
3.2) หลักสูตร/ประเภทวิชาและสาขาวิชา เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดหลักสูตร/ประเภทวิชาและสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน สำหรับนิสิตหรือนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการปีการศึกษา 2555 พ.ศ. 2555
4) นิสิตหรือนักศึกษาสามารถขอรับทุนได้เพียงหนึ่งหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษาไม่เกินอัตราค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บ ตามจำนวนปีที่กำหนดไว้แต่ละหลักสูตรกรณีที่ผู้ขอรับทุนมีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนจากหน่วยงานของรัฐให้ผู้ขอรับทุนขอรับทุนได้เฉพาะค่าเล่าเรียนส่วนต่างเท่านั้น ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนด
5) นิสิตหรือนักศึกษาที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพ ต้องเป็นผู้มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี และให้ได้รับค่าครองชีพในอัตราเดือนละ 3,000 บาท (เริ่มปีการศึกษา 2563) การพิจารณารายได้ครอบครัว ให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณากลั่นกรองข้อมูลตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
5.1) รายได้รวมของนิสิตหรือนักศึกษาผู้ขอรับทุนรวมกับรายได้ของบิดาและมารดากรณีที่บิด มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ใช่บิดา มารดา
5.2) รายได้รวมของนิสิตหรือนักศึกษาผู้ขอรับทุนรวมกับรายได้ของผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ใช่บิดา มารดา
5.3) รายได้รวมของนิสิตหรือนักศึกษาผู้ขอรับทุนรวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอรับทุนสมรสแล้ว
6) นิสิตหรือนักศึกษาผู้ใดประสงค์จะขอรับทุนให้ยื่นคำขอกู้ผ่านระบบที่สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจัดทำไว้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
7) กองทุนเพื่อการศึกษา จะจ่ายทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนให้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
7.1) ค่าเล่าเรียน จ่ายให้สถานศึกษาที่ผู้รับทุน(ผู้กู้ยืมเงิน)โดยตรงโดยโอนเข้าบัญชีชื่อ “กรอ.(ระบุชื่อสถานศึกษา)” ของกองทุนเพื่อการศึกษา กระทรวงการคลัง ตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษาเรื่อง การกำหนดหน้าที่ วิธีปฏิบัติ และความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่เข้าร่วมกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.) ปีการศึกษา 2555 พ.ศ. 2555
7.2) ค่าครองชีพ จ่ายให้นิสิตหรือนักศึกษาที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพผู้รับทุน(ผู้กู้ยืมเงิน) โดยโอนเข้าบัญชีของผู้รับทุน(ผู้กู้ยืมเงิน) ตามที่ได้แจ้งให้แก่กองทุนเพื่อการศึกษา
.
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย2) เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้ ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า ผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปีรายได้ต่อครอบครัวพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดามารดา ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
2.2) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดา มารดา
2.3) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรสแล้ว
3) มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้
3.1) เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา
3.2) เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิง เริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น
3.3) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุมหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือ ส่วนราชการอื่น ๆ ทบวงมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ
3.4) ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใด ๆ มาก่อน
3.5) ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างการศึกษา
3.6) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3.7) ไม่เป็นหรือเคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3.8) ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปีรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี
.
เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณากู้ยืมเงิน
1. แบบคำขอกู้ยืมเงินที่จัดพิมพ์ออกจากระบบ e-Studentloan และแบบคำขอกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสาร(แบบ กยศ.101)
2. เอกสารของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
2.1 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. เอกสารของบิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
3.1 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
3.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. เอกสารประกอบการรับรองรายได้ ดังนี้
4.1 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินมีรายได้ประจำ ให้ใช้หนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือนของบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี
4.2 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินไม่มีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (แบบ กยศ.102) และ สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้รับรองรายได้
5. หนังสือแสดงความคิดเห็นของอาจารย์แนะแนวหรืออาจารย์ที่ปรึกษา (แบบ กยศ.103)
6. แผนผังแสดงที่ตั้งของที่อยู่อาศัย พร้อมรูปถ่ายที่อยู่อาศัยของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
7. ใบแสดงผลการศึกษา/สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา
8. เอกสารอื่นๆ ซึ่งสถานศึกษาพิจารณาเพิ่มเติม
หมายเหตุ : สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อ โดยเจ้าของเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา บิดาต้องเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้อง เป็นต้น
.
อ่านรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม : studentloan.or.th
ขอบคุณข้อมูล : loan.bu.ac.th