ระเบียบการรับสมัคร นักเรียนพยาบาล กองทัพเรือ ปีการศึกษา 2565
วิทยาลัยพยาบาล กองทัพเรือ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ เป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดกองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม และเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการรับรองหลักสูตรและสถาบันการศึกษาจากสภาการพยาบาล และผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2511 โดยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพยาบาลหญิงสำหรับ ให้บริการด้านสุขภาพแก่ข้าราชการกองทัพเรือ และครอบครัวตลอดจนประชาชนทั่วไป ทั้งในยามปกติ ยามฉุกเฉิน และยามสงครามโดยมีพันธกิจหลัก 4 ประการ
คือ 1) การผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพ 2) การผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการและนวัตกรรม 3) การให้การบริการวิชาการแก่บุคลากรทางการพยาบาล กำลังพลกองทัพเรือและประชาชน 4) การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ
1. สถานที่ตั้ง
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ เลขที่ 504/57 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร 10600 โทรศัพท์ 02475 2614 , 02 475 2625 โทรสาร 02 475 2872 และ email : rtncn@rtncn.ac.th
2. การจัดการศึกษา
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือเปิดทำการสอนใน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้รับการรับรองคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับสถาบันจากสภาการพยาบาล และผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 แผนการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 จำนวนหน่วยกิตรวม 143 หน่วยกิต ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชา เฉพาะ หมวดวิชาเลือกเสรี และหมวดวิชาทหาร
2.2 ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี แบ่งเป็นภาคการศึกษาปกติ2 ภาคการศึกษา ภาคการศึกษาละ 16 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อน 8 สัปดาห์
การศึกษาภาคทฤษฎี
ประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การสัมมนา การสาธิต การทดลอง การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
การศึกษาภาคปฏิบัติ
ประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้ากรมแพทย์ทหารเรือฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมทั้งศึกษาดูงานในพื้นที่ปริมณฑลและ
ต่างจังหวัด
3. การเข้ารับการศึกษา
3.1 คุณสมบัติผู้สมัคร
3.1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์) ของกระทรวงศึกษาธิการ
3.1.2 เป็นสตรีโสด อายุระหว่าง 17-22 ปีโดยนับปี พ.ศ.ที่เกิด (ผู้เกิดระหว่างปี พ.ศ.2543-2548)
3.1.3 มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดและบิดา มารดาผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดถ้าบิดาเป็นข้าราชการทหารหรือตำรวจ ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้วมารดาจะมิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้สำหรับผู้สมัครที่มีปู่หรือย่า หรือตา หรือยาย มิใช่สัญชาติไทย จะต้องนำสูติบัตรของบิดา มารดา หรือหนังสือรับรองจากที่ว่าการอำเภอ/ สำนักงานเขตซึ่งรับรองว่าบิดา มารดา ของผู้สมัครเกิดในประเทศไทยจริงมาแสดงด้วย
3.1.4 รูปร่าง ลักษณะ ท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะสมต่อการรับราชการทหารและการประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 42 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 65 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
3.1.5 มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วย การรับราชการทหาร หรือไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาวิชาชีพการพยาบาล โดยการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการตรวจสุขภาพ และการทดสอบสุขภาพจิต ที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้ง
3.1.6 มีความประพฤติดี ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3.1.7 ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมาย หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
3.1.8 ไม่เคยกระทำความผิดต้องโทษ
3.1.9 ไม่อยู่ระหว่างพักราชการหรือพักงาน และไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือสถานศึกษา หรือหน่วยงานใดๆ เนื่องจากทุจริต หรือประพฤติเสื่อมเสีย
3.1.10 ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง โดยฝ่าฝืนกฎหมาย
4. จำนวนนักเรียนที่รับ
จำนวนนักเรียนที่รับจากการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษารวม 60 คน แบ่งเป็น
4.1 นักเรียนพยาบาลศาสตร์ส่วนของกองทัพเรือ จำนวน 40 คน ดังนี้
4.2 ทุนกองทัพเรือ จำนวน 20 คน
4.3 ทุนส่วนตัวโดยกองทัพเรือสนับสนุนค่ายุทธอาภรณ์จำนวน 20 คน
4.4 นักเรียนพยาบาลศาสตร์ส่วนของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และ/หรือทุนส่วนตัว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 20 คน
5. วิธีการสมัครและหลักฐานการสมัคร
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ เปิดรับสมัครทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น โดยสามารถสมัครได้ทาง www.rtncn.ac.th ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 ถึงวันที่25 เมษายน 2565 โดยมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
5.1 ศึกษาข้อมูลการสมัครและกรอกข้อมูลการสมัครทางอินเทอร์เน็ต ในใบสมัครให้ครบถ้วนตรงกับหลักฐานความเป็นจริง และปฏิบัติตามขั้นตอนการสมัครที่กำหนด
5.2 Upload ไฟล์รูปภาพ ขนาด 1 นิ้วหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวกและแว่นตาสีเข้มหรือดำ File .Jpg ขนาดไม่เกิน 100 MB ลงบนใบสมัครสอบคัดเลือกฯ
5.3 พิมพ์ใบชำระเงินค่าสมัครจากอินเทอร์เน็ต แล้วชำระเงินค่าสมัครจำนวน 350 บาท ที่ธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขา หรือผ่านทาง Internet Banking ของธนาคารกรุงไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 ถึงวันที่27 เมษายน 2565
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือไม่รับเงินทางธนาณัติ และผู้สมัครต้องรับผิดชอบจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเงินให้ธนาคารเอง (ทั้งนี้ผู้สมัครต้องชำระเงินให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด มิเช่นนั้น ข้อมูลการสมัครจะถูกลบออกจากระบบ)
5.4 ตรวจสอบสถานการณ์ชำระเงินทางอินเทอร์เน็ต ภายหลังจากที่ผู้สมัครชำระเงินผ่านธนาคาร ประมาณ 3 วันทำการ จะปรากฏเลขประจำตัวผู้สมัคร ที่มุมขวาด้านบนของใบสมัครแสดงว่าวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ได้รับสมัครในเบื้องต้นไว้แล้ว การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้สมัครกรอกข้อมูลคะแนนวิชาการที่กำหนดให้ครบถ้วน
5.5 การกรอกคะแนนวิชาการ ผู้สมัครสามารถกรอกข้อมูลคะแนนวิชาการทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 18 – 28 เมษายน 2565 โดยคะแนนวิชาการประกอบด้วย GPAX 6 ภาคเรียน ผลการสอบวิชาสามัญปีการศึกษา 2565 สำหรับ GAT และ PAT2 ปีพ.ศ.2565 โดยผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตรงกับหลักฐานและความเป็นจริง
5.6 พิมพ์ใบสมัครที่สมบูรณ์ ผู้สมัครตรวจดูใบสมัครจะต้องมีเลขประจำตัวผู้สมัคร ข้อมูลส่วนตัว และคะแนนวิชาการให้ครบถ้วน และลงลายมือชื่อด้านล่างจึงถือว่าข้อมูลครบสมบูรณ์ (สามารถพิมพ์ใบสมัครที่สมบูรณ์ได้เมื่อดำเนินการตามขั้นตอน ข้อ 5.1 – 5.5 เรียบร้อยแล้ว)
5.7 ให้ผู้สมัครส่งหลักฐานการสมัคร ดังนี้
5.7.1 ใบสมัครที่มีภาพถ่ายของผู้สมัคร ขนาด 1 นิ้ว หน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก และแว่นตาสีเข้มหรือดำข้อมูลส่วนตัว และคะแนนวิชาการ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้สมัคร
5.7.2 ระเบียนแสดงผลการเรียนเฉลี่ย 6 ภาคเรียน (ปพ.1) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์)
โดยจะต้องให้ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตราสถาบัน (ระวังอย่าประทับบนผลการเรียนเฉลี่ย) เขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครบริเวณมุมขวาด้านบนของเอกสาร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องให้ส่งใบสมัคร พร้อมระเบียนแสดงผลการเรียนเฉลี่ย 6 ภาคเรียน (ปพ.1) มาทางไปรษณีย์
ที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ เลขที่ 504/57 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 ภายในวันที่ 29 เมษายน 2565โดยจะนับวันประทับตราการส่งคะแนนวิชาการจากไปรษณีย์เป็นสำคัญ (ในกรณีที่ติดวันหยุดราชการหลายวันให้ส่งระเบียนแสดงผลการเรียนเฉลี่ย 6 ภาคเรียน (ปพ.1) มาทางอีเมล www.rtncn.ac.th ควบคู่กับการส่งทางไปรษณีย์ด้วยเพื่อประโยชน์ของผู้สมัครเอง)
.
ระเบียบการรับสมัคร : เอกสารประกาศ !!
หน้าหลักประกาศ : ลิงก์รับสมัคร !!
กำหนดการรับสมัคร : 24 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 25 เมษายน 2565
6. คะแนนวิชาการที่ใช้ในการพิจารณา
ใช้ผลการสอบความรู้ เช่นเดียวกับระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admission) ของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งประกอบด้วย
6.1 ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์
6.2 ผลการทดสอบ 7 วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 1 ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา โดยใช้ผลการทดสอบของปีการศึกษา 2565
6.3 ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) โดยใช้ผลการสอบระหว่าง ปี พ.ศ.2565
6.4 ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาการ หรือวิชาชีพ (PAT) กลุ่มที่ 2วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ผลการสอบระหว่าง ปีพ.ศ.2565
7. เกณฑ์การตัดสินคัดเลือก
7.1 ผลการทดสอบทางวิชาการ ใช้ผลการสอบความรู้เช่นเดียวกับ ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admission) ของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยคะแนน ดังนี้
1) คะแนนรวมของผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) คิดเป็นร้อยละ 20
2) คะแนนผลการทดสอบ 7 วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 1 ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา โดยใช้ผลการทดสอบของปีพ.ศ.2565 คิดเป็นร้อยละ 30
3) คะแนนผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) คิดเป็นร้อยละ 20
4) คะแนนผลการทดสอบความถนัดทางวิชาการหรือวิชาชีพ (PAT2) คิดเป็นร้อยละ 30 การคิดคะแนนจะนำคะแนนรวมมาเรียงลำดับจากผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด ถึงผู้ที่ได้คะแนนรวมต่ำสุด จำนวน 600 คน
.
ขอบคุณข้อมูล : rtncn.thaijobjob.com