ทุนเล่าเรียนหลวง ปี 2565 จาก สำนักงาน กพ. มีโอกาสบรรจุราชการด้วยนะ
สำนักงาน ก.พ. จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อรับ ทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2565 ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551
และระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันพร้อมทั้งกำหนดหลักสูตรและวิธีการ สอบแข่งขัน เพื่อรับทุนดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. ทุนเล่าเรียนหลวง
กำหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีผลการเรียนยอดเยี่ยม จำนวน 3 หน่วย รวม 9 ทุน ดังนี้
1. หน่วยที่ ๐๑๒๐๑๐๑ จำนวน 5 ทุน
2. หน่วยที่ ๐๑๒๐๑๐๒ จำนวน 2 ทุน
3. หน่วยที่ ๐๑๒๐๑๐๓ จำนวน 2 ทุน
ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ โดยจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษา แห่งใดก็ได้ ซึ่ง ก.พ. จะเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบโดยพิจารณาจากความประสงค์คุณวุฒิ คุณลักษณะของผู้ได้รับทุนและเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย
2. ข้อผูกพันในการรับทุน
2.1 ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาในการรับทุน
2.2 กรณีผู้ได้รับทุนไม่กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย จะต้องชดใช้เงินคืนเท่ากับจำนวนเงินทุนที่ได้รับไป
3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ
ผู้มีสิทธิสมัครสอบต้องมีคุณสมบัติดังนี้
3.1 มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยกเว้นคุณสมบัติทั่วไปในเรื่องอายุตามมาตรา 36 ก. (2) ผู้สมัครมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้
3.2 มีอายุไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564
3.3 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า
โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 3.50 และเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.50 (ในระบบการวัดผลที่คิดคะแนนให้ A=4, B=3, C=2, D=1, E หรือ F=0)
ผู้สมัครสอบที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมา หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องมีหนังสือรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษามาแสดงว่าเป็นผู้มีผลการเรียนเทียบเท่ากับผลการเรียนที่กำหนดไว้
หากผู้ใดไม่มีหนังสือรับรองผลการเรียนมาแสดง จะถือว่าไม่มีสิทธิในการสมัครสอบครั้งนี้
3.4 ไม่สอบตกในวิชาหนึ่งวิชาใดตลอดหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
3.5 มีศีลธรรม และความประพฤติดี
3.6 ไม่อยู่ในระหว่างการรับทุนที่มีสัญญาผูกพันในการปฏิบัติงานชดใช้ทุน หรือตอบแทนทุนใด ๆ ยกเว้น จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของทุนให้สมัครสอบได้และได้ส่งหนังสืออนุญาตดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ. ภายในวันสอบข้อเขียน
3.7 ผู้สมัครสอบผู้ใดไม่มีคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ไม่มีสิทธิเข้าสอบหรือได้รับทุน
4. การรับสมัครสอบ
4.1 ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ ดูรายละเอียดทางอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. ที่ http://www.ocsc.go.th , http://scholar2.ocsc.go.th และเว็บไซต์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ http://stscholar.nstda.or.th พร้อมทั้งสามารถพิมพ์แบบฟอร์มที่ใช้ในการสมัครสอบได้ในเว็บไซต์ดังกล่าว
5. การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๕๐๐ คะแนน)
หน่วยที่ ๐๑๒๐๑๐๑ วิชาที่สอบมี 5 วิชา ดังนี้
1. ภาษาอังกฤษ – Structure, Vocabulary and Reading Comprehension
2. ภาษาไทย – ทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาไทย ตลอดจนความสามารถในการประมวลและเรียบเรียงความคิดและเขียนตามหัวข้อที่กำหนด
3. สังคมศึกษา(ศาสนาและวัฒนธรรม)
เนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกมาตรฐานและทุกสาระอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560
4. คณิตศาสตร์
เนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกมาตรฐานและทุกสาระอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560
5. วิทยาศาสตร์
เนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกมาตรฐานและทุกสาระอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560
.
หน่วยที่ ๐๑๒๐๑๐๒ วิชาที่สอบมี 5 วิชา ดังนี้
1. ภาษาอังกฤษ – Structure, Vocabulary and Reading Comprehension
2. ภาษาไทย – ทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาไทย ตลอดจนความสามารถในการประมวลและเรียบเรียงความคิดและเขียนตามหัวข้อที่กำหนด
3. สังคมศึกษา(ศาสนาและวัฒนธรรม)
เนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกมาตรฐานและทุกสาระอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560
4. Writing – ทดสอบความสามารถในการเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษโดยเน้นสัมฤทธิผลของงานเขียนตามคำสั่งและหัวข้อที่กำหนดและกำหนดให้เขียนเรียงความ จำนวน ๒ เรื่อง
เรื่องที่ 1 การเขียนเรียงความ หรืองานเขียนประเภทอื่นในเรื่องทั่วไป ความยาวประมาณ 180 – 220 คำ
เรื่องที่ 2 การเขียนเรียงความเชิงวิชาการในเรื่องที่กำหนดโดยใช้ข้อมูลในข้อสอบเป็นแหล่งอ้างอิง ผู้เขียนควรแสดงข้อคิดเห็นของผู้เขียนเองเกี่ยวกับหัวข้อ
5. Translation – ทดสอบความสามารถในการแปล ดังนี้
5.1 ) การแปลเต็มรูปแบบจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
ประกอบด้วยข้อสอบ 1 – 2 ข้อ เป็นความเรียง ความยาวประมาณข้อละไม่ต่ำกว่า 100 คำ เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป และปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ทั่ว ๆ ไป
5.2 ) การแปลเต็มรูปแบบจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
ประกอบด้วยข้อสอบ 1-2 ข้อ เป็นความเรียงความยาว ประมาณข้อละไม่ต่ำกว่า 100 คำ เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป และปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ทั่ว ๆ ไป
5.3 ) การแปลเก็บความจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและการแปลเก็บความจากต้นฉบับภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
ประกอบด้วยข้อสอบ 2 ข้อ ความยาวของต้นฉบับ ในแต่ละข้อไม่ต่ำกว่า 1 หน้า A4 เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป และปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ทั่ว ๆ ไป
ทั้งนี้ รายละเอียดของหลักสูตรการสอบอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
.
หน่วยที่ ๐๑๒๐๑๐๓ วิชาที่สอบมี 5 วิชา ดังนี้
1. ภาษาอังกฤษ – Structure, Vocabulary and Reading Comprehension
2. ภาษาไทย – ทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาไทย ตลอดจนความสามารถในการประมวลและเรียบเรียงความคิดและเขียนตามหัวข้อที่กำหนด
3. สังคมศึกษา(ศาสนาและวัฒนธรรม)
เนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกมาตรฐานและทุกสาระอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560
4. คณิตศาสตร์
เนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกมาตรฐานและทุกสาระอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560
5. Writing – ทดสอบความสามารถในการเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษโดยเน้นสัมฤทธิผลของงานเขียนตามคำสั่งและหัวข้อที่กำหนดและกำหนดให้เขียนเรียงความ จำนวน ๒ เรื่อง
เรื่องที่ 1 การเขียนเรียงความ หรืองานเขียนประเภทอื่นในเรื่องทั่วไป ความยาวประมาณ 180 – 220 คำ
เรื่องที่ 2 การเขียนเรียงความเชิงวิชาการในเรื่องที่กำหนดโดยใช้ข้อมูลในข้อสอบเป็นแหล่งอ้างอิง ผู้เขียนควรแสดงข้อคิดเห็นของผู้เขียนเองเกี่ยวกับหัวข้อ
.
รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม : ระเบียบการรับสมัคร !!
กำหนดการรับสมัครสอบ : วันนี้ ถึง 11 พฤศจิกายน 2564
ขอบคุณข้อมูล : www.ocsc.go.th/scholarship/highschool