พอร์ตโฟลิโอ 6 สิ่งต้องรู้

6 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนยื่นคัดเลือก TCAS รอบ พอร์ตโฟลิโอ

6 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนยื่นคัดเลือก TCAS รอบ พอร์ตโฟลิโอ

TCAS รอบ พอร์ตโฟลิโอ เป็นรอบแรกของการรับสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เป็นรอบที่ไม่ต้องใช้คะแนนสอบ และมีจำนวนการรับเข้าค่อนข้างเยอะ จึงทำให้รอบนี้เป็นรอบที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่เรียนดี กิจกรรมเด่น หรือมีผลงานทางวิชาการเยอะ

เพราะถ้าเราสอบติดมหาวิทยาลัยตั้งแต่รอบแรก ก็ไม่ต้องมีเครียดกับการสอบ ไม่ต้องมาระแวงว่าจะมีที่เรียนหรือเปล่า เวลาที่เหลือ ก็จะได้สนุกกับชีวิต ม.ปลายอย่างเต็มที่ เอาล่ะ ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาเช็คข้อมูลกันหน่อย ว่า TCAS รอบพอร์ตโฟลิโอ

เราต้องรู้อะไรบ้าง และเราควรเตรียมตัวอย่างไร ถ้าเราจะยื่นคัดเลือก ใน TCAS รอบพอร์ตโฟลิโอ นี้

1. โครงการที่รับสมัคร ในรอบนี้

ใน TCAS รอบพอร์ตโฟลิโอ จะเน้นโครงการที่พิจารณาเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) และ/หรือเกรดเฉลี่ยรายวิชา (GPA) และ/หรือผลงานด้านคุณธรรมจริยธรรม และ/หรือผลงานทางด้านวิชาการ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ และ/หรือผลงานทางด้านกีฬา ความสามารถพิเศษ หรือตามที่กำหนดเป็นหลัก

ยกตัวอย่างโครงการที่เปิดรับสมัครในรอบนี้ (แต่ละมหาวิทยาลัยอาจมีชื่อ และรูปแบบการคัดเลือกที่แตกต่างกันออกไป)

1. โครงการเด็กดีมีที่เรียน

2. โครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีคุณธรรมและจริยธรรม

3. โครงการนักเรียนความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ , วิทยาศาสตร์ , คอมพิวเตอร์

4. โครงการส่งเสริมผู้มีคุณธรรม จริยธรรม บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสังคม

5. โครงการนักเรียนความสามารถพิเศษด้านกีฬา

แน่นอนว่า แต่ละโครงการ ก็จะมีการพิจารณาคัดเลือกแตกต่างกันออกไป แต่ที่แน่นอน คือ ต้องมีผลงาน เกียรติบัตร หรือสิ่งที่แสดงถึงความสามารถตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด นะจ้ะ

.

2. ส่วนประกอบ ของ Portfolio

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ มักจะกำหนดให้ทำ Portolio ไว้ที่ 10 หน้า แต่สิ่งที่สำคัญคือ น้องๆ ต้องดูในระเบียบการรับสมัครด้วยว่า คณะ / สาขา ที่จะสมัคร ว่ากำหนดให้น้องๆ ทำ Port ออกมาแบบไหน แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ต้องเตรียมไว้คือ ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ผลการเรียน ผลงาน รางวัลต่างๆ เป็นต้น

Portfolio ส่วนใหญ่ 10 หน้า จะประกอบไปด้วย (แต่ละมหาวิทยาลัย อาจแตกต่างกันไป แต่ถ้าไม่กำหนดก็จะออกมาในรูปแบบนี้)

0.) หน้า 0 หน้าปก คำนำ สารบัญ  จะไม่นับรวม (คำนำ สารบัญ ไม่ต้องใส่ก็ได้)

1.) หน้า 1 ประวัติการส่วนตัว แนะนำตัวเอง แบบสุภาพ

2.) หน้า 2 ประวัติการศึกษา เอาให้จบในหน้าเดียว

3.) หน้า 3-5 ผลการเรียน เอกสารต่างๆ ที่สำคัญ

4.) หน้า 6-9 ผลงาน เกียรติบัตร ภาพถ่ายการเข้าร่วมกิจกรรม

5.) หน้า 10 เรียงความเหตุผลที่อยากเข้าเรียน คณะ / สาขา / มหาวิทยาลัย แห่งนี้ (มีหรือไม่มีก็ได้)

** น้องๆ สามารถปรับพอร์ตโฟลิโอ ในแต่ละหน้าขอน้องๆ ได้ตามความเหมาะสม และไอเดียของน้องๆ เลยนะจ้ะ

.

3. กำหนดคุณสมบัติพิเศษ ผลงานที่ต้องมี

อันนี้ ต้องเช็คให้ดีเลย ในระเบียบการรรับสมัครจะระบุไว้อย่างชัดเจน ว่าต้องการผลงานแบบไหน เกรดเฉลี่ยชั้นต่ำเท่าไหร่ ต้องมีคะแนนสอบทางภาษาด้วยหรือเปล่า ถ้าน้องๆ ไม่สนใจ ยื่นคัดเลือกเลย เขาก็จะตัดชื่อน้องเลยนะจ้ะ ถ้าหากยื่นไป ดังนั้น เช็คคุณสมบัติให้ดีก่อนนะ ก่อนจะยื่นไป

ตัวอย่างที่มักจะเจอ

อย่างเช่น หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

สิ่งที่มหาวิทยาลัยมักจะกำหนดก็คือ เกรดเฉลี่ย รอบนี้ บางมหาวิทยาลัย อาจจะกำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำไว้ที่ 3.50 และรายวิชาในกลุ่มสายวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 3.00

และอาจมีกำหนดผลคะแนน BMAT หรือ ผลสอบทางภาษาอังกฤษด้วย เป็นต้น

.

4. เรียงความอธิบายถึงคามต้องการที่อยากเรียน คณะ / สาขา นี้ ก็สำคัญนะ

อย่างที่พี่บอกไป ใน Portfolio หน้า 10 ให้เขียนเรียงความเหตุผลที่อยากเข้าเรียน คณะ / สาขา / มหาวิทยาลัย ซึ่งจริงๆ แล้วจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ในบางมหาวิทยาลัยกำหนดเลยว่าจะต้องมี และต้องเขียนตามหัวข้อที่ทาง คณะ / สาขา กำหนดด้วย

อันนี้ ก็ต้องแล้วแต่น้องๆ แล้วล่ะนะ ว่าจะเรียบเรียง อธิบาย และเขียนออกมาได้ดีแค่ไหน

.

5. Portfolio สวยมีชัยไปกว่าครึ่ง

แม้ทางมหาวิทยาลัยจะบอกว่า Portfolio ไม่ต้องสวย หรู เริด อะไรมาก เพราะเราเน้นที่ผลงาน แต่มันก็เลี่ยงไม่ได้หรอกที่เราต้องทำ Portfolio ของเราให้ดูดี น้องๆ ว่าจริงไหม แม้ผลงานเราจะดี โดดเด่น แต่ Portfolio ออกมาธรรมดา มันก็ดูไม่น่าสนใจจริงไหมจ้ะ

แน่นอนว่าการทำ  Portfolio ให้ดูดีมันก็ควรเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ก่อนที่เราจะส่ง Port เพื่อยื่นคัดเลือก

แต่พี่ขอแนะนำว่า สวยได้ แต่ไม่ต้อง เวอร์มากไปนักนะ เน้นเลย คือ สวย เรียบ สะดุดตา แค่นี้พอจ้า สีฉูดฉาด ล้ำ เวอร์ ไม่ต้องก็ได้นะ

.

6. อย่าลืมเช็คนะ ว่านอกจาก Portfolio แล้ว ทางคณะ /  สาขา เขาต้องการผลงานอะไรอีก

อย่างเช่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ ,  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ก็จะมักจะให้ส่งผลงานที่ทำออกมาไปด้วยกับ Portfolio เพื่อประกอบการคัดเลือกด้วยนะ

ยกตัวอย่าง

คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกจิตรกรรม อาจจะให้ส่งภาพวาด ในหัวข้อที่กำหนดไปด้วย หรือ

คณะนิเทศศาสตร์ อาจจะให้ส่งคลิปวิดีโอแนะนำตัวเอง ความยาวไม่เกิน 3-5 นาที แล้วอัพโหลดตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด เป็นต้น

** รอบนี้ เป็นรอบที่น่าสนใจ และมีจำนวนรับที่ค่อนข้างเยอะ ถ้าน้องๆ สามารถเข้าคณะ / สาขาที่น้องๆ ชอบได้ตั้งแต่รอบนี้ มันก็จะไม่ต้องมีเครียดไปเลยนะ ตลอดปีนี้

ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดีนะจ้ะ

.

ขอบคุณข้อมูล   :   admissionpremium.com/content/6357  ,  tcasportfolio.com/content/46