วิศวกรรมศาสตร์ 10 สาขายอดฮิต

10 สาขาวิชายอดฮิต ของคณะ วิศวกรรมศาสตร์ เรียนอะไร เจออะไร มาเช็คกัน

10 สาขาวิชายอดฮิต ของคณะ วิศวกรรมศาสตร์ เรียนอะไร เจออะไร มาเช็คกัน

อีกหนึ่งคณะยอดฮิตในทุกยุคทุกสมัย กับคณะ วิศวกรรมศาสตร์ คณะนี้เป็นคณะใหญ่มีสาขาวิชาต่างๆ มากมาย อาทิ เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

จนทำให้น้องๆ บางคน เลือกสาขาวิชาเรียนกันไม่ถูกเลย ซึ่งวิศวกรรมสาขาวิชาต่างๆ ก็เรียนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลย เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า กับ วิศวกรรมโยธา ก็ไปกันคนละแนวเลย อันนึงเด่นไฟฟ้า อันนึงจะเน้นด้านโครงสร้าง

ก่อนที่เราจะเลือกเรียนต่อในคณะนี้ ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่าเราต้องเจอกับอะไรบ้าง และในบทความนี้ พี่ก็จะมาแนะนำ 10 สาขาวิชายอดฮิตที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเรียนกัน เหตุผลที่เลือกเรียนกัน เพราะตลาดแรงงานค่อนข้างเยอะ ต่อยอดได้ และเรียนต่อในระดับสูงๆ ขึ้นไปได้ ถ้าพร้อมกันแล้ว ไปดูกันเลยดีกว่า

ว่ามีสาขาวิชาอะไรกันบ้าง

1. วิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า หรือ Electrical Engineering เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกร์ณ์ทางไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อนำความรู้ทางด้านไฟฟ้ามาใช้ในการทำงานและใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

ทฤษฏีโครงข่าย

วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า

เครื่องกลไฟฟ้า

ระบบควบคุม

เครื่องมือวัด และวัดคุม

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรไฟฟ้า , วิศวกรระบบไฟฟ้า , วิศวกรโรงงาน  , วิศวกรซ่อมบำรุง เป็นต้น

.

2. วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมเครื่องกล เป็นอีกสาขาหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ การประดิษฐ์ คิดค้น การผลิต และการบํารุงรักษาระบบ การศึกษาของวิศวกรรมเครื่องกลค่อนข้างครอบคลุม กล่าวคือ เป็นการศึกษาโดยการใช้ความรู้ด้าน ฟิสิกส์ เคมี มาประยุกต์ใช้กับงานด้านกลศาสตร์ การออกแบบเครื่องจักรกล เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

กลศาสตร์ของไหล

เทอร์โมไดนามิกส์

การเขียนแบบ

วิศวกรรมยานยนต์

เครื่องกลไฟฟ้า

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรเครื่องกล , วิศวกรฝ่ายผลิต , วิศวกรโรงงาน  , วิศวกรซ่อมบำรุง เป็นต้น

.

3. วิศวกรรมเคมี

วิศวกรรมเคมี เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมี รวมถึงหลักการของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

เคมีอินทรีย์

เทอร์โมไดนามิกส์

การถ่ายโอนมวลสาร

การถ่ายโอนความร้อน

เครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมเคมี

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรเคมี , วิศวกรผู้ควบคุมกระบวนการผลิต  ,วิศวกรด้านความปลอดภัย เป็นต้น

.

4. วิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมโยธา หรือ CIVIL ENGINEERING จะเรียนในเรื่องของการออกแบบ วิเคราะห์โครงสร้าง ควบคุมการก่อสร้าง ตรวจสอบคุณภาพ พัฒนาวัสดุก่อสร้าง วิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และสำรวจพื้นที่ต่างๆ เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

กำลังวัสดุ

การสำรวจ

ชลศาสตร์

คอนกรีตเทคโนโลยี

วัสดุวิศวกรรมโยธาและการทดสอบ

ทฤษฎีโครงสร้าง

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรโยธา , วิศวกรออกแบบ , วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง , วิศวกรประมาณราคา เป็นต้น

.

5. วิศวกรรมอุตสาหการ

วิศวกรรมอุตสาหการ จะเรียนในด้านการจัดการ การออกแบบ และการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ ช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตสูงสุด เพิ่มกำไรและประสิทธิการในการทำงาน เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

เทอร์โมไดนามิคส์

เทอร์โมไดนามิคส์ของวัสดุ

กรรมวิธีการผลิต

วิศวกรรมไฟฟ้า

เขียนแบบวิศวกรรมการผลิต

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรอุตสาหการในทุกองค์กร , วิศวกรควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม , วิศวกรความปลอดภัย , วิศวกรวางแผนและควบคุมกระบวนการผลิต เป็นต้น

.

6. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะเรียนในด้านระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น Network การออกแบบระบบฝังตัวสมองกล มัลติมีเดีย การเขียนโปรแกรมแบบขนานและกระจาย รวมทั้งการออกแบบเครือข่าย วิเคราะห์สัญญาณ เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

การสื่อสารข้อมูล

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์และภาษาแอสเซมบลี

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบปฎิบัติการ

โครงสร้างแบบดิสครีต

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรคอมพิวเตอร์ ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ , ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์/วิศวกรซอฟต์แวร์  , วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนาระบบสารสนเทศ  เป็นต้น

.

7. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียนในด้าน การออกแบบ วิเคระห์ และสังเคราะห์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

ทางสายอิเล็กทรอนิกส์

สิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ

การออกแบบดิจิทัลและลอจิก

สัญญาณและระบบ

สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับวิศวกร

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ , วิศวกรที่ปรึกษา , วิศวกรโครงงาน , วิศวกรทดสอบ  เป็นต้น

.

7. วิศวกรรมชีวการแพทย์

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) เป็นสาขาวิชาที่นำความรู้ด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

MEASUREMENT AND INSTRUMENTATION FOR BIOMEDICAL ENGINEER

ELECTRIC CIRCUIT ANALYSIS OF BIOMEDICAL ENGINEER

DIGITAL ELECTRONIC AND MICROCONTROLLER

COMPUTER-AIDED DESIGN IN BIOMEDICAL APPICATIONS

ORGANIC CHEMISTRY

THERMODYNAMICS

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรชีวการแพทย์ , วิศวกรคลินิคประจำโรงพยาบาล , วิศวกรอีเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

.

8. วิศวกรรมการเกษตร / วิศวกรรมเกษตร / วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ

วิศวกรรมเกษตร เป็นสาขาทางวิศวกรรมที่ใช้วิทยาศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการประมวลผลทางการเกษตร. วิศวกรรมการเกษตรรวบรวมหลักการทางวิศวกรรมสาขาวิชาเครื่องกล, โยธา, ไฟฟ้า, และเคมี เข้ากับความรู้ในหลักการทางการเกษตร

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ

เครื่องมือวัดและระบบ IoT ทางการเกษตร

การควบคุมไฮดรอลิกส์และนิวเมตริกส์

ระบบเมคคาทรอนิกส์ทางการเกษตร

เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืชและโรงเรือนกรีนเฮาส์เพื่อการผลิตพืช

เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรรวมถึงอาชีพที่ใช้ความรู้ด้าน , วิศวกรรมเกษตรในทุกองค์กร , วิศวกรควบคุมการผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง ในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และโรงงานประเภท อื่นๆ เป็นต้น

.

9. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จะเรียนในเรื่องของการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้านเคมี เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

เคมีสิ่งแวดล้อม

ปฏิบัติการทางเคมีและจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

งานสำรวจสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

สถิติวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกรสิ่งแวดล้อมโดยสามารถออกแบบ ควบคุม บริหาร/จัดการ และอ านวยการใช้ระบบต่างๆ เช่น ระบบประปา ระบบระบายและบำบัดน้ำเสีย ระบบจัดการด้านขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ เสียง และแรงสั่นสะเทือน , นักวิจัย/นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

.

10. วิศวกรรมโทรคมนาคม / วิศวกรรมการสื่อสาร

วิศวกรรมโทรคมนาคม จะเรียนรู้ทางด้านเครือข่ายโทรคมนาคม การประมวลผลสัญญาณสำหรับการสื่อสาร การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสื่อสาร และ
ระบบสื่อสารไร้สาย มาบูรณาการปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

วิชาที่จะได้เรียน ในสาขาวิชานี้

สัญญาณและระบบ

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า

อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม

สนามและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การออกแบบวงจรดิจิทัลและลอจิก

อาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ

วิศวกร หรือนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมและโครงข่าย เป็นต้น

.

ขอบคุณข้อมูล    :    campus.campus-star.com/education/88094.html , blog.eduzones.com/sutthida/177883  ,  campus.campus-star.com/education/100148.html  ,  th.wikipedia.org/wiki/วิศวกรรมเกษตร  ,   eng.kmutt.ac.th/wordpress/wp-content/uploads/2018/07/วศ.บ.-วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม admissionpremium.com/content/5764  ,  reg.kmitl.ac.th/curriculum/index.php