คณะเภสัชศาสตร์ แนะแนว

แนะแนว คณะเภสัชศาสตร์ เรียนอะไร จบมาทำอะไร มาเช็คกัน

แนะแนว คณะเภสัชศาสตร์ เรียนอะไร จบมาทำอะไร มาเช็คกัน

หนึ่งในคณะ สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ยอดฮิต ไม่แพ้ แพทยศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์เลย ใช่แล้ว พี่กำลังพูดถึง คณะเภสัชศาสตร์ คณะที่ต้องเน้น เคมี เป็นหลัก และมีการเรียนที่หนักหน่วงอยู่พอสมควร

น้องๆ คนไหนที่อยากเรียนในคณะนี้ มาดูกันดีกว่า ว่าใน 6 ปี นั้น เราต้องเจอกับอะไรบ้าง และมีสาขาวิชาอะไรบ้างที่น่าเรียน

คณะเภสัชศาสตร์จะแบ่งสาขาเป็น 4 กลุ่ม ได้ดังนี้

กลุ่มวิชาบริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical Care) จะเป็นสายดูแลรักษา การจ่ายยา การใช้ยาของประชาชน สาขาวิชาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่

1. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล

2. สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชม

3. สาขาวิชาเภสัชสาธารณสุข

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม (Pharmaceutical Science) จะเป็นสายนักวิจัย ผลิตยา ศึกษาสารเคมี วิเคราะห์ตัวยาต่างๆ สาขาวิชาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่

1. สาขาวิชาเภสัชเวท

2. สาขาวิชาเภสัชเคมี

3. สาขาวิชาเภสัชวิเคราะห์

4. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม

กลุ่มวิชาเภสัชกรรมสังคม (Social Pharmacy) สายการตลาดและกฎหมายเกี่ยวกับเภสัชกรรมทุกสาขาเพื่อการทำงานในองค์กรต่างๆ สาขาวิชาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่

1. สาขาวิชาการบริหารเภสัชกิจ

2. สาขาวิชานิติเภสัชศาสตร์

กลุ่มวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา (Pharmacology and Toxicology) สายศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับการดูดซึม ประสิทธิภาพต่างๆ ของตัวยาที่มีต่อร่างกาย สาขาวิชาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่

1. เภสัชวิทยา

2. พิษวิทยา

3. ชีวเภสัชศาสตร์

.

ใน 6 ปี ต้องเจอกับวิชาอะไรบ้าง

ในเวลาการศึกษาทั้งหมด 6 ปี คณะเภสัชศาสตร์นี้ จะแบ่งรูปแบบการเรียนออกเป็น ช่วงปีต่างๆ ได้ ดังนี้

1. ช่วงปีที่ 1 – 2 จะเน้นเกี่ยวกับการศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเบื้องต้น

2. ช่วงปีที่ 3 – 4 จะเป็นการศึกษาวิชาเฉพาะทางเภสัชศาตร์

3. ช่วงปีที่ 5 – 6 จะเป็นการเน้นความชำนาญทางวิชาชีพ

วิชาที่จะได้เจอในแต่ละปี (เบื้องต้น)

ปีที่ 1 

ภาษาอังกฤษ

เคมีทั่วไป

แคลคูลัสและระบบสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ

แนะนำวิชาชีพเภสัชกรรม

ฟิสิกส์พื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์การแพทย์

เคมีอินทรีย์

.

ปีที่ 2 

มุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมต่อสุขภาวะและความเจ็บป่วย

ชีวเคมี

หลักการเคมีในเภสัชศาสตร์

วิทยาภูมิคุ้มกันสำหรับเภสัชศาสตร์

ชีวเคมีของมนุษย์และโรค

เภสัชวิเคราะห์ ๑

.

ปีที่ 3

เภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชวินิจฉัย ๑

เคมีของยา ๑

พยาธิสรีรวิทยา

ระบบสุขภาพและเภสัชกรรม

เภสัชวิทยา ๒ , ๓

ชีวเภสัชและเภสัชจลนศาสตร์

.

ปีที่ 4

กฎหมายและจรรยาบรรณทางเภสัชกรรม

วิทยาการระบาดทางเภสัช

จุลชีววิทยาคลินิก

โภชนบำบัด

การบริหารทางเภสัชกรรม

เภสัชเศรษฐศาสตร์

.

ปีที่ 5 (อ้างอิง การบริบาลทางเภสชักรรม )

ฝึกงาน

โครงการพิเศษ

การเตรียมยาเฉพาะคราวทางเภสัชกรรม

การปฏิบัติเภสัชศาสตร์สนเทศ

พฤกษบำบัดอิงหลักฐาน

ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

.

ปีที่ 6

วิชาเลือกฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ

การฝึกปฏิบัติงาน

.

น้องๆ ที่อยากดูรายละเอียด วิชาที่เรียนแบบเต็มๆ สามารถ เข้าไปดูข้อมูลได้ที่   :   ลิงก์พาไป !!

โดย เอกสารนี้เป็นหลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต มหิดล ปี 2558

.

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน คณะเภสัชศาสตร์ ประเทศไทย   :    ลิงก์พาไป !!

.

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑ เภสัชกรโรงพยาบาล บรกิารจ่ายยา ใหก้ารบริบาลทางเภสชักรรม การผสมยาในผู่ป่วยเฉพาะราย และการบริหารเวชภัณฑ์ในสถานพยาบาลทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน

๒ เภสัชกรชุมชน บริหารจัดการร้านยา จ่ายยา และให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา

๓ เภสชักรฝ่ายผลติ ตรวจวิเคราะห์ ประกนัคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขึ้นทะเบียนยา ประจำโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

๔ เภสัชกร ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เภสัชกรด้านการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

๕ เภสัชกรด้านการศึกษา เช่น นักวิชาการ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์

๖ เภสัชกรด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์ทางคลินิก

๗ เภสัชกรด้านการขึ้นทะเบียนยา

๘ เภสัชกรการตลาด

.

ขอบคุณข้อมูล   :  op.mahidol.ac.th/ea/wp-content/uploads/2018/10/PY_1_PP_58.pdf , anywhere.learn.co.th/main/ใครอยากเข้าคณะเภสัชฯ