เตรียมสอบ PAT2 บทไหนออกสอบ บทไหนไม่ควรทิ้ง มาเช็คกัน
การสอบ GAT/PAT เป็นสนามสอบที่สำคัญอย่างมากกับน้องๆ ที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย เพราะมหาวิทยาลัยต่างๆ ใช้คะแนนนี้เป็นคะแนนหลักในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย แทบจะทุกมหาวิทยาลัยเลย โดยเฉพาะ รอบที่ 4 Admission ยังไงก็ต้องใช้คะแนนนี้ในการคำนวณคะแนน ดังนั้น มาเตรียมสอบ การสอบ GAT/PAT กันหน่อยดีกว่า
โดยในบทความนี้เราจะเน้น บทที่ออกบ่อย และบทที่ไม่ควรทิ้ง ในการสอบ PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ถ้าพร้อมแล้วไปเช็คกันเลย
วิชาฟิสิกส์ 5 บทที่ไม่ควรปล่อยทิ้ง
1. คลื่น ข้อสอบชอบออกสมบัติของคลื่นชนิดต่างๆ
2. งานและพลังงาน ถ้าเข้าใจสูตรก็ทำคะแนนได้เลย เรื่องนี้มักมาพร้อมกับเรื่อง แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่
3. ฟิสิกส์อะตอม จะเน้นไปที่ 3 เรื่องหลักๆ คือ แบบจำลองอะตอมของโบว์ อะตอมไฮโดรเจน และปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก
4. แสง เรื่องนี้ชอบออก การคำนวณระยะการเกิดภาพ การตกกระทบ ชนิดของภาพที่ได้ และที่สำคัญเลนส์นูน เลนส์เว้า เป็นต้น
5. ของแข็ง ของเหลว ของไหล เรื่องนี้ข้อสอบออกไม่ยาก เท่าไหร่ ถ้าอ่านมาดีพอ 55+
วิชาชีววิทยา 5 บทที่ไม่ควรปล่อยทิ้ง
1. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เรื่องนี้เป็นบทใหญ่ เพราะมีหลายหัวข้อย่อยๆ ต้องจำแนกสิ่งมีชีวิตต่างๆ ถ้าจะให้จำง่ายๆ ควรวาดเป็นแผนภาพ
2. วิวัฒนาการ บทนี้ออกปีละ 2-3 ข้อ เรื่องที่ออกบ่อยๆ คือ ความแปรผันทางพันธุกรรมม, Mutation
3. ระบบนิเวศ เรื่องที่ออกบ่อยๆ คือ การถ่ายทอดพลังงาน โจทย์มักให้คำนวณเปอร์เซ็นต์พลังงานที่ได้ในแต่ละห่วงโซ่อาหารหรือแต่ละลำดับขั้นในห่วงโซ่อาหาร
4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม หัวข้อที่ออกบ่อย คือ โครโมโซมและยีนส์ เรื่องที่ออกบ่อยคือ Autosome, X-linked & Y-linked, โรคความผิดปกติที่เกิดจากโครโมโซม และแผนภาพ Pedigree
5. การสังเคราะห์แสง เรื่องที่ชอบออกก็คือวัฏจักร Calvin , การเปรียบเทียบระหว่างพืช C3,C4 และ CMC
วิชาเคมี 5 บทที่ไม่ควรปล่อยทิ้ง
1. เคมีอินทรีย์ เรื่องที่ออกบ่อย
1.1 สมบัติของหมู่ต่างๆ ข้อสอบจะออกแนวประยุกต์ โดยโจทย์มักจะให้สารมาแล้วให้ตัวเลือกเป็นสมบัติสารต่างๆแล้วถามว่าข้อใดสรุปถูกต้อง หรือไม่ก็สลับกันให้คุณสมบัติของสารมาในโจทย์ แล้วให้ตัวเลือกว่าคุณสมบัติที่กล่าวมาเป็นสารใด
1.2 ไอโซเมอร์ โจทย์มักจะถามว่าโครงสร้างนี้ เป็นไอโซเมอร์ได้กี่แบบ หรือเป็นไอโซเมอร์รูปร่างแบบไหนได้บ้าง เป็นต้น
2. ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2 บทนี้มีการคำนวณคล้ายๆเดิม แค่โจทย์เปลี่ยนชนิดสารและปริมาณเท่านั้น และที่สำคัญระวังเรื่องหน่วยด้วย ต้องดูว่าโจทย์ให้หน่วยอะไรมา แล้วถามหน่วยอะไร ต้องเปลี่ยนหน่วยไหม เป็นต้น
สารละลาย โดยมักจะให้คำนวณ Molarity ซึ่งก็ คืออัตราส่วนของจำนวนโมลของตัวถูกละลายต่อปริมาตรของสารละลาย เราสามารถหาโมลาริตีได้ ถ้ารู้ค่าของโมลกับปริมาตร (หน่วยลิตร) หรือโมลกับปริมาตร (หน่วยมิลลิลิตร) หรือมวลกับปริมาตร โดยการคำนวณก็ไม่ยาก เพียงแค่นำค่าดังกล่าวมาใส่ในสูตร จากนั้นคิดเลขนิดหน่อย ก็หาโมลาริตีได้แล้ว
สมการเคมี โจทย์จะให้สมการเคมีมาโดยสิ่งที่น้องๆต้องทำก็คือการดุลสมการ ต้องฝึกทำบ่อยๆ นะ
3. พันธะเคมี
พันธะโคโวเลนต์ เรื่องนี้จะออกเรื่องรูปร่างพันธะ ความยาวพันธะ สภาพขั้ว พลังงานพันธะ น้องๆต้องเข้าใจหลักการการเกิดรูปร่างพันธะแต่ละแบบ จะทำให้ทำข้อสอบลักษณะนี้ได้ง่ายๆ
พันธะไออนิก เรื่องนี้โจทย์ก็จะถามคำถามคล้ายๆพันธะโคโวเลนต์
4. กรด-เบส เรื่องนี้สิ่งที่ออกบ่อยที่สุดคือ การคำนวณ เพราะการคำนวณเรื่องนี้สามารถประยุกต์โจทย์ได้ โจทย์จะเน้นอยู่ 2 เรื่องหลักๆคือ
การแตกตัว
คู่กรด-คู่เบส
5. ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี เรื่องที่ออกบ่อยคือ
หลักการดุลสมการรีดอกซ์ ถ้าจะทำโจทย์เรื่องนี้ได้ ต้องมีความรู้เรื่องเลขออกซิเดชันก่อน ถึงจะดุลสมการรีดอกซ์ได้
เซลล์กัลวานิก บทนี้ชอบออกเรื่อง E Cell และแผนภาพปฏิกิริยาครึ่งเซลล์โดยลักษณะโจทย์ส่วนใหญ่จะให้ภาพหรือสมการและถามแผนภาพปฏิกิริยาครึ่งเซลล์
.
ขอบคุณข้อมูล : opendurian.com/news/analyze_pat2