บทเน้น ที่ออกสอบบ่อย ในวิชาเคมี สำหรับเตรียมสอบ PAT2
หนึ่งในวิชาหลักของสายวิทย์ มีด้วยกัน 4 วิชาหลัก นั่นคือ วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงแค่ วิชาเคมี ซึ่งวิชานี้เป็นหนึ่งในวิชาสำคัญที่ใช้ในการสอบ ทั้ง PAT2 และ วิชาสามัญ โดยในวิชาเคมีนี้ เป็นวิชาที่สำคัญมากไม่ใช่แค่ตอนสอบเท่านั้น แต่ในตอนเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
ก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ สายวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ยังไงต้องเจออีกแน่ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาเตรียมสอบกันก่อนดีกว่า โดยบทความนี้ พี่ก็มี 5 บทเน้นสำหรับเตรียมสอบ มาฝากกัน ออกสอบบ่อยด้วยนะ อย่าลืมอ่านกันล่ะ
5 บทที่ออกบ่อย และเน้น ในวิชาเคมี
1. เคมีอินทรีย์
2. ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2
3. พันธะเคมี
4. ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
5. กรด – เบส
1. เคมีอินทรีย์ เรื่องที่ข้อสอบชอบออกบ่อยมีดังนี้
ไอโซเมอร์ : มักจะให้โครงสร้างมาเเล้วถามว่าโครงสร้างนี้เป็นไอโซเมอร์ได้กี่เเบบหรือมีไอโซเมอร์รูปร่างไหนได้บ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วข้อนี้ควรเป็นข้อที่เก็บคะแนนได้ เเต่ข้อสอบเรื่องนี้ในปีหลังๆ โจทย์จะให้สารที่มีสูตรโครงสร้างยากขึ้น
สมบัติของหมู่ฟังก์ชันต่างๆ : เรื่องนี้โจทย์มักจะออกแนวประยุกต์ คือให้สารมาเเล้วให้ตัวเลือกเป็นสมบัติต่างๆ เพื่อถามว่าข้อใดสรุปถูกต้อง ซึ่งน้องๆ ต้องเข้าใจสมบัติของหมู่ฟังชันก์ต่างๆ ที่เห็นข้อสอบออกบ่อยคือ Alkane เช่น Br2 , Cl2 เป็นต้น
2. ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2 มีบทที่ออกบ่อยมีดังนี้
หน่วยสัมพันธ์ : เรื่องนี้อาจไม่ได้ออกตรงๆ แต่โจทย์มักจะแทรกเรื่องนี้มาในเรื่องการเตรียมสารละลายต่างๆ เป็นจุดที่ข้อสอบหลอกและน้องๆ มักพลาดกันอย่างน่าเสียดาย จึงอยากให้น้องๆ ระวังเรื่องหน่วยให้ดีไม่ว่าจะเป็นการทำโจทย์ในเรื่องปริมาณสาร สมดุลเคมีหรือกรด-เบส หน่วยต่างๆ นี่สำคัญมาก
สารละลาย : เรื่องสารละลายที่ออกบ่อยมักจะเป็นเรื่อง Molarity (M) Molality (m) เเละ % โดย.. (% โดยมวล, % โดยปริมาตร เเละ % โดยมวลต่อปริมาตร) สามสิ่งนี้ออกบ่อยมาก
สมการเคมี : เรื่องนี้จะเน้นไปที่การนำเอาไปประยุกต์ใช้ ในกรณีที่โจทย์ให้สมการเคมีมา สิ่งเเรกที่น้องๆ ต้องทำคือ ดุลสมการ ซึ่งน้องๆ สามารถฝึกดุลสมการให้คล่องด้วยนะจ้ะ
3. พันธะเคมี เรื่องนี้น้องๆ บางคนอาจยอมเเพ้เเต่พี่มุกบอกเลยว่าถ้าเข้าใจเเละจับจุดถูกการทำข้อสอบพันธะเคมีจะไม่ยากอีกต่อไป
พันธะไอออนิก : มักจะออกในเเนวข้อใดถูก – ข้อใดผิด ซึ่งน้องๆ ต้องรู้หลักการเกิดของพันธะ สมบัติต่างๆ เเละการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก
พันธะโคเวเลนต์ : เรื่องนี้เน้นออกเรื่องรูปร่างพันธะ สภาพขั้ว ความยาวพันธะ เเละพลังงานพันธะ ถ้าเข้าใจหลักการเกิดรูปร่างพันธะเเต่ละเเบบก็สามารถทำข้อสอบได้อย่างๆ สบายเลย
4. กรด – เบส เรื่องนี้กล้าบอกเลยว่าออกสอบทุกปี!! เพราะถือเป็นหัวใจหลักของพาร์ตคำนวณที่สามารถพลิกเเพลงโจทย์ได้ “การเเตกตัวเเละคู่กรด – คู่เบส”
กรดเเก่ เบสเเก่ ไม่คิดค่า K เพราะเเตกตัวเร็วมาก (น้องๆ บางคนจำว่ากรดเเก่ เบสเเก่ เเตกตัวได้ 100% ไม่ใช่นะ!!)
กรดเเก่ที่ควรรู้ : HClO4, HNO3, HCl, H2SO4
เบสเเก่ที่ควรรู้ : ธาตุหมู่ I, II + OH
5. ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
หลักการดุลสมการรีดอกซ์ : น้องๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องเลขออกซิเดชันก่อนจึงจะสามารถดุลสมการรีดอกซ์ได้ ซึ่งน้องๆ สามารถอ่านทบทวนเรื่องการหาเลขออกซิเดชัน
โดยที่หลักการดุลสมการรีดอกซ์มี 3 ข้อใหญ่ๆ คือ
1. หาว่าธาตุตัวใดมีเลขออกซิเดชัน เพิ่ม หรือ ลด
2. นำเลขออกซิเดชันที่เพิ่มหรือลดคูณไขว้กัน
3. กรณีสารตั้งต้นมีเลขห้อยให้เอาเลขห้อยคูณก่อนเเล้วจึงคูณไขว้
เซลล์กัลวานิก : หัวข้อที่ชอบออกบ่อยของเรื่องนี้คือ Eo Cell เเละเเผนภาพปฏิกิริยาครึ่งเซลล์โดยลักษณะโจทย์มักจะให้ภาพหรือให้สมการเเละถามหาเเผนภาพครึ่งเซลล์
.
ขอบคุณข้อมูล : school.dek-d.com/blog/tcas/tcas-pat2