นักวิทย์ เผยได้ค้นพบหลักฐานสำคัญที่อาจบ่งชี้ถึง “หลุมดำ ขนาดกลาง”
นักดาราศาสตร์ ค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในอวกาศที่อาจเกิดจากดาวฤกษ์ถูกฉีกออกด้วยแรงโน้มถ่วงมหาศาล นับเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่อาจบ่งชี้ถึง “หลุมดำ มวลปานกลาง (Intermediate Mass Black Holes, IMBHs)”
ซึ่งงานวิจัยในครั้งนี้นำทีมโดย หลิน ต้าเฉิง โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลศึกษาวัตถุในอวกาศ ซึ่งเคยเป็นวัตถุที่พบการปะทุรังสีเอกซ์ในปี พ.ศ. 2549 ผลการวิจัยครั้งนี้ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ลงในวารสาร Astrophysical Journal Letters
ในปี พ.ศ. 2549 มีรายงานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราและกล้อง XXM-Newton สามารถตรวจจับแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ที่รุนแรงในอวกาศได้ และได้บันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายการ มีชื่อว่า 3XMM J215022.4−055108 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่สามารถระบุได้ว่าแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ดังกล่าวมีระยะห่างจากโลกเท่าใด
และนอกจากนี้ยังพบ หลุมดำนี้อยู่ในกระจุกดาวขนาดใหญ่ มีดาวฤกษ์สมาชิกอยู่กันอย่างหนาแน่น จึงสันนิษฐานว่า ในอดีตกระจุกดาวนี้อาจเคยเป็นกาแล็กซีแคระ แต่ถูกแรงโน้มถ่วงจากกาแล็กซีหลักรบกวน จึงหลงเหลือเพียงส่วนที่เป็นใจกลางของกาแล็กซีซึ่งมีลักษณะปรากฏคล้ายกับกระจุกดาว
ซึ่งในการค้นพบในครั้งนี้อาจเป็นองค์ความรู้สำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจในวิวัฒนาการของหลุมดำ และวิวัฒนาการของกาแล็กซีต่อไป
.
ขอบคุณข้อมูล : narit.or.th/index.php/astronomy-news/1182-hubble-finds-mid-sized-black-hole
ภาพประกอบจาก : 4dthai.com/หลุมดำ