เทคนิค สอบสัมภาษณ์ และ 10 คำถามที่เจอบ่อยในการสอบสัมภาษณ์
ก่อนจะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย นอกจากการที่เราสอบติด ต่อจากนั้นก็คือ การ สอบสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่ ถ้าสอบติดและไปสอบสัมภาษณ์และถ้าไม่ตอบคำถามแบบกวน มากเกินไปก็จะสอบติดทุกคนนะ แต่ก็มีบางโครงการที่มีคะแนนสอบสัมภาษณ์ เป็นคะแนนที่นำมาพิจารณาด้วย โดยเฉพาะ รอบที่ 1 Portfolio การสอบสัมภาษณ์มีคะแนนด้วยนะจ้ะ ดังนั้น ต้องเตรียมตัวให้ดีเลย เมื่อเราสอบติดแล้ว และเราจะเตรียมตัวยังไงดี ลองมาเช็คกันหน่อย
1. แนะนำตัวเอง
ก็ไม่มีอะไรมาก ก็พูดถึงตัวเราเอง ชื่ออะไร อายุ การศึกษา ครอบครัว และพื้นฐานเกี่ยวกับเรา ประมาณนี้
2. ทำไมถึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้
เป็นคำถามพื้นฐานที่ยังไงก็ต้องเจอ ค่อนข้างแน่นอน และยังเป็นคำถามที่ชี้วัดชะตากรรมของคำถามต่อไปเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าคุณตอบดีเข้าตากรรมการ คำถามต่อไปก็ง่ายขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคำถามนี้น้องตอบได้ดี
แนวทางการตอบ : ตอบให้เป็นตัวเรา ตอบไปตรงๆ อย่าคิดมากเกินไป ตอบแบบสบายๆ อย่าปั้นคำพูด แค่นั้นแหละ
3. รู้หรือไม่ว่าคณะ/สาขานี้เรียนอะไรบ้าง
คำถามนี้เป็นการทดสอบว่าคุณหาความรู้เกี่ยวกับคณะที่จะเข้ามาศึกษามากน้อยเพียงใด ดังนั้นจึงไม่ควรตอบแบบง่ายๆ เช่น ‘ไม่ทราบ’ หรือ ‘คณะมนุษย์ศาตร์ก็มีไว้สอนภาษา’ เพราะถ้าเป็นตอบแบบนี้ โอกาสไม่ติดมีสูงเลยนะ
แนวทางการตอบ : หาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ / สาขาวิชานี้มาก่อน และตอบเท่าที่เรารู้ ไม่รู้ก็ ก็ตอบ ไม่ทราบ ไม่ต้องตอบไปเรื่อย เดี่ยวจะกลายเป็นสถานการณ์แย่กว่าเดิม
4. เรียนหนักนะ จะไหวเหรอ
เป็นคำถามยืนยันความมั่นใจของตัวเรา โดยคณะกรรมการบางคนอาจจะถามเหมือนเป็นเชิงดูถูกให้คุณของขึ้นเล่น แต่อย่าไปคิดมาก ให้ตอบยืนยันเข้าไว้ ว่ายังไงเราก็ไหว
แนวทางการตอบ : พยายามยืนยันกับกรรมการ อย่าใช้อารมณ์ในการตอบนะ
5. แล้วถ้าไม่ได้ที่นี่จะทำยังไง
อย่าพึ่งนิ่ง เมื่อได้ยินคำถามนี้ พยายามตั้งสติ และตอบอย่างมั่นใจว่า ที่นี่คือที่ที่อยากเรียนจริง
แนวทางการตอบ : พยายามบอกถึงความตั้งใจที่อยากเรียนที่นี่ และพยายามอยากจะเรียนที่นี่ให้ได้
6. ถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่เคยเข้าร่วม
คำถามนี้ไม่ใช่การชวนคุย แต่เป็นคำถามที่จะดูว่าคุณเป็นคนมีสาระหรือไม่ ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์หรือเปล่า และกิจกรรมที่คุณเคยทำสอดคล้องกับคณะที่จะเรียนมากน้อยเพียงใด
แนวทางการตอบ : พยายามตอบให้ดูเกี่ยวกับคณะ จะดีมาก
7. ข้อดีของคุณคืออะไร
แน่นอนว่าหลายคนย่อมมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย แต่ข้อดีของคุณมันดีต่อคนอื่นหรือเปล่านั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง
แนวทางการตอบ : พยายามหาจุดต่างแตกต่างของเรา ที่เป็นข้อดีที่น่าสนใจ ยิ่งคนอื่นไม่มีได้ยิ่งดี เพราะทำให้เราน่าสนใจกว่าเพื่อน
8. ข้อเสียของคุณคืออะไร
บางคนอาจตอบอย่างมั่นใจว่า ‘ไม่มี’ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง แต่คุณอย่าลืมคิดไปว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรเพอร์เฟ็ก และคนที่รู้ข้อเสียของตนเองก็ดูเป็นคนน่าคบหามากกว่าคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีข้อเสียอะไร
แนวทางการตอบ : ไม่ต้องคิดมาก เรามีข้อเสียอะไรก็ตอบไปตามนั้น
9. ถามการเดินทาง มาเรียน
เป็นหนึ่งในคำถามที่เหมือนไม่มีอะไร แต่มันแฝงหลายๆ อย่างที่น่าสนใจกับคำถามนี้เลยทีเดียว
แนวทางการตอบ : ตอบตามความจริง พักใกล้ไกล ก็ตอบไปเลย ไม่ต้องคิดมาก
10. มีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมหรือไม่
ไม่ต้องคิดมากกับคำถามนี้ บางครั้ง อาจารย์เขาก็อยากให้เราถามกลับบ้าง แค่นั้นแหละ
.
ขอบคุณข้อมูล : trueplookpanya.com/tcas/article/detail/26364