หลุมดำ

นักดาราศาสตร์ คาดใน หลุมดำ อาจประกอบด้วยวงแหวนโฟตอนจำนวนมาก

นักดาราศาสตร์ คาดใน หลุมดำ อาจประกอบด้วยวงแหวนโฟตอนจำนวนมาก

ทีมนักดาราศาสตร์ จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ดและสมิธโซเนียน (CfA) ได้นำภาพ หลุมดำ ที่ถ่ายผ่านเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ EHT มาวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ โดยพวกเขาพบว่า หลุมดำนั้นอาจประกอบไปด้วยวงแหวนย่อยอีกจำนวนมากซ้อนทับกัน ซึ่งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงแหวนและรูปร่างความคมชัดสามารถบ่งชี้ลักษณะเฉพาะตัวของหลุมดำ ได้แก่ มวล และการหมุนรอบตัวเองได้

และข้อมูลดังกล่าวถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Science Advances เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

หลุมดำ_1

วงแหวนย่อยเหล่านั้น เรียกว่า “วงแหวนโฟตอน (Photon ring)” จะเกิดขึ้น ณ บริเวณที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ทำให้กาลอวกาศบิดโค้งจนโฟตอนหรือแสงหมุนรอบหลุมดำแล้วจึงหลุดออกมา จึงเกิดลักษณะคล้ายวงแหวนรอบ ๆ หลุมดำ ซึ่งวงแหวนย่อยที่เกิดขึ้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากัน แต่มีความสว่างและความคมชัดแตกต่างกัน เกิดจากโฟตอนหมุนวนรอบหลุมดำในรูปแบบต่างกัน ยิ่งโฟตอนหมุนวนหลายรอบมากขึ้นจะทำให้เกิดวงแหวนที่คมชัด แต่สว่างน้อย ในขณะที่โฟตอนหมุนวนน้อย จะเกิดวงแหวนที่ความสว่างมาก แต่ไม่คมชัด

ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ วงการดาราศาสตร์ก้าวกระโดดไปไกลเป็นอย่างมาก เนื่องจากเราสามารถศึกษาหลุมดำได้จากการสังเกตการณ์โดยตรงได้เป็นครั้งแรก หากเหล่านักวิทยาศาสตร์ศึกษาและเข้าใจวงแหวนโฟตอนได้ จะเป็นการช่วยยืนยันทฤษฎีสัมพันธ์ภาพทั่วไปอีกด้วย นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการปลดล็อคความรู้ความเข้าใจให้เหล่านักดาราศาสตร์ในการไขปริศนาของเอกภพต่อไป

.

ขอบคุณข้อมูล   :     narit.or.th/index.php/astronomy-news/1122-photon-ring-black-hole

ภาพประกอบจาก    :   matichon.co.th , narit.or.th