ดาวเคราะห์น้อยประหลาดจากนอกโลก “โอมูอามูอา” อาจเป็นก้อนไฮโดรเจนแข็ง
เมื่อประมาณเดือนตุลาคม ปี 2560 นักดาราศาสตร์ได้พบกับดาวเคราะห์น้อยรูปทรงยาวดวงหนึ่ง ผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็มีการเข้าใจกันว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย หรือดาวหางธรรมดาทั่วไป แต่ต่อมาก็พบว่าวัตถุดวงนี้มีเส้นทางและความเร็วที่แสดงว่าไม่ได้มีต้นกำเนิดใน ระบบสุริยะ ของเรา ซึ่งนี่จึงนับเป็นการค้นพบวัตถุต่างดาวดวงแรก ซึ่งให้วัตถุดาวเคราะห์น้อย นี้มีชื่อสามัญว่า “โอมูอามูอา”
ซึ่ง โอมูอามูอา ก็มีความน่าสนใจหลายอย่าง บางอย่างก็ชวนพิศวงยากจะหาคำอธิบาย เช่นรูปร่างที่แสนประหลาด โดยวัตถุของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีลักษณะเรียวยาวเหมือนซิการ์ซึ่งไม่เหมือนวัตถุอื่นในระบบสุริยะ นอกจากนี้โอมูอามูอายังมีการเคลื่อนที่ที่แสดงถึงการคายแก๊สออกมาเหมือนกับดาวหาง แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่ฟูฟุ้งและไม่ทอดหางออกมาอย่างที่ดาวหาง ทั่วไป
และก็มีนักดาราศาสตร์ต่างเสนอทฤษฎีต่างๆ ออกมามากมายเพื่ออธิบายถึงดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ เช่น โอมูอามูอา เป็นเศษดาวหางบ้าง เป็นยานอวกาศจากต่างดาว บ้างก็ว่าเป็นเรือใบอวกาศ เป็นต้น
และเมื่อไม่นานมานี้ ก็มีทฤษฎีใหม่ล่าสุดที่เสนอโดย ดาร์รีล เซลิกแมน จากมหาวิทยาลัยชิคาโกและ เกรเกอรี ลาฟตัน จากมหาวิทยาลัยเยล ได้อธิบายถึงพฤติกรรมของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ว่า โอมูอามูอา อาจจะเป็นก้อนไฮโดรเจนแข็ง
โดยโมเลกุลไฮโดรเจนแข็งเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิ -259.14 องศาเซลเซียส ซึ่งเกือบเป็นศูนย์สัมบูรณ์ (-273.15 องศาเซลเซียส) เมื่อโอมูอามูอาได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ก็จะระเหิดออกมา ไฮโดรเจนที่ระเหิดออกมาจะไม่สะท้อนแสงใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่มีใครมองเห็นโคม่าหรือหางเลย นอกจากนี้การระเหิดทำให้เกิดแรงผลักในทิศทางเดียวกับแสงอาทิตย์ โอมูอามูอาในช่วงขาออกจึงเคลื่อนที่ถอยห่างจากดวงอาทิตย์เร็วขึ้น
แล้วก้อนโมเลกุลไฮโดรเจนแข็งเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ??
เซลิกแมนและลัฟตัน ได้สันนิษฐานว่ามันน่าจะมีต้นกำเนิดในเมฆโมเลกุลยักษ์ (Giant Molecular Cloud –GMC) ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ เมฆชนิดนี้มีมวลสูงมาก ประกอบด้วยไฮโดรเจนแข็งและฮีเลียมเกาะกลุ่มกันเป็นก้อนเมฆที่มีความกว้างได้ถึงหลายร้อยปีแสง
แต่การศึกษาสภาพภายในเมฆโมเลกุลเป็นเรื่องยากมากหรือถึงกับเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากถูกบดบังด้วยชั้นเมฆ หากวัตถุอย่างโอมูอามูอามีต้นกำเนิดจากเมฆโมเลกุลจริง ก็เท่ากับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้เราได้เรียนรู้สภาพภายในเมฆโมเลกุล จากเจ้าดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อว่า โอมูอามูอา นี้
.
ขอบคุณข้อมูล : thaiastro.nectec.or.th/news/3665
ภาพประกอบจาก : thaiastro.nectec.or.th/news/2007/news20070903