สหเวชศาสตร์ แนะแนว

แนะแนวเรียนต่อคณะ สหเวชศาสตร์ เรียนอะไร ต้องเจอกับอะไรบ้าง มาเช็คข้อมูลกัน

แนะแนวเรียนต่อคณะ สหเวชศาสตร์ เรียนอะไร ต้องเจอกับอะไรบ้าง มาเช็คข้อมูลกัน

อีกหนึ่งคณะ ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เป็นที่ต้องการในตลาดเป็นอย่างมาก เพราะด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ป่วยที่มีเป็นจำนวนมาก ไหนจะโรคระบาดอีก อาชีพที่อยู่ในด้านการแพทย์ และสาธารณสุข จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก และนี่คืออีกคณะที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลย คือ

คณะ สหเวชศาสตร์ คณะนี้เรียนอะไร ทำอะไร จบมาทำอาชีพแบบไหนได้บ้าง ในบทความนี้ จะให้คำตอบกับน้องๆ ได้ จ้า

คณะ สหเวชศาสตร์ (Faculty of Allied Health Sciences) คือ คณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดสอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Allied) กับวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ผู้ที่เรียนจบ คณะ/สาขาวิชานี้ จะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน การแพทย์ ยกตัวอย่างสาขา ที่มีในประเทศไทย ได้แก่

1. สาขากายภาพบำบัด : นักกายภาพบำบัด

2. สาขาเทคนิคการแพทย์ : นักเทคนิคการแพทย์

3. สาขารังสีเทคนิค : นักรังสีเทคนิค

4. สาขาเทคโนโลยัหัวใจและทรวงอก : นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก

5. สาขากิจกรรมบำบัด : นักกิจกรรมบำบัด

6. สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร : นักโภชนาการ

7. สาขาเทคโนโลยีการกีฬา : นักวิทยาศาสตร์

8. สาขาทัศนมาตร : นักวิทยาศาสตร์  เป็นต้น

.

คณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย (และหน่วยงานใกล้เคียง)

1. คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

3. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

5. สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

6. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

7. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

8. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

9. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

10. สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

11. วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

12. คณะพยาบาลศาสตร์และสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

13. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

14. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

15. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

16. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

17. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

18. คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต

19. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

20. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

21. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

22. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

.

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือเทียบเท่า สายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และต้องเป็นผู้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีความพิการ ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ มีใจรักในการรักษา และให้การดูแลผู้ป่วย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นต้น

.

แนวทางการประกอบอาชีพ 

ผู้ที่จบคณะสหเวชศาสตร์ สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ได้ตามสาขาที่ตนเองสำเร็จการศึกษามา นอกจากนี้ยังสามารถรับราชการในโรงพยาบาล และหน่วยงานของรัฐ หรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระได้

.

ขอบคุณข้อมูล   :  th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อคณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย , gotoknow.org/posts/280458  และ

sites.google.com/site/rurxbkxnsxbkheamhawithlay/home/cb-m-6-laewpi-tx-hin-di/say-withy/khna-sh-wechsastr