ภาพถ่าย ท้องฟ้า

ไม่เห็นเหมือนเลย !! ทำไมเราจึงมองไม่เห็นวัตถุท้องฟ้าสวยเหมือน ภาพถ่าย

ไม่เห็นเหมือนเลย !! ทำไมเราจึงมองไม่เห็นวัตถุท้องฟ้าสวยเหมือน ภาพถ่าย

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราถึงมองไม่เห็นวัตถุบนท้องฟ้า เหมือน ภาพถ่าย ตามข่าวต่างๆ เลย แม้ว่าเราจะมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ แล้วก็ตาม ในบทความนี้ เรามีคำตอบมาให้แล้วจ้า โดย เหตุผลที่เรามองไม่เห็นแบบนั้น ก็คือโดยปกติดวงตามนุษย์มีเรตินา (Retina) เป็นจอรับภาพ ซึ่งประกอบด้วยเซลล์รูปแท่ง (rod cell) และเซลล์รูปกรวย (cone cell) ช่วงเวลากลางคืนหรือสถานที่ที่มีแสงไฟสลัว ๆ

เซลล์ที่ทำงานได้ดีคือ เซลล์รูปแท่ง ซึ่งเซลล์นี้จะให้ภาพออกมาในโทนขาวดำ ส่วนเซลล์รูปกรวยจะให้ออกมาเป็นสีแต่ทำงานไม่ดีในสภาวะแสงน้อย จึงไม่สามารถมองเห็นสีในที่มืด ได้วัตถุอย่างเช่น ดวงจันทร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ แต่เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะยังเห็นเป็นสีได้

เนื่องจากวัตถุเหล่านี้มีความเข้มแสงมากพอต่อความไวแสงของเซลล์รูปกรวย ในขณะที่วัตถุท้องฟ้าอย่าง กาแล็กซี เนบิวลา และกระจุกดาวมีความเข้มแสงไม่มากพอที่จะกระตุ้นให้เซลล์รูปกรวยทำงาน จึงทำให้เห็นเป็นเพียงภาพขาวดำ

และถ้าหากดูวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ จะช่วยให้เห็นสีของวัตถุเหล่านั้นได้หรือไม่ คำตอบก็คือสามารถเห็นสีได้ แต่จะไม่เห็นเป็นสีสันที่สวยงามเท่ากับในภาพถ่าย ยกตัวอย่างเช่น เนบิวลานายพราน (M42) จะมีสเปกตรัมค่อนไปทางสีแดง หากมองด้วยตาเปล่าผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ สีของเนบิวลาที่เห็นเป็นสีแรกก็คือ สีเขียว เนื่องจากเป็นสีที่ไวต่อเซลล์ประสาทตามากที่สุด ทำให้เมื่อมองวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ สีจึงออกมาในโทนขาวดำหรืออาจมีสีเขียวเจือปนนั่นเอง

แต่ในปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “CCD (Charge Coupled Device)” ที่ทำหน้าที่บันทึกแสงของวัตถุท้องฟ้า โดยในการถ่ายภาพแต่ละครั้งจะใช้แผ่นกรองแสงหรือฟิลเตอร์สีต่าง ๆ มาช่วยกรองเอาเฉพาะแสงสีที่ต้องการแล้วนำภาพแต่ละฟิลเตอร์มารวมกันเพื่อให้ได้ภาพที่เลียนแบบสีที่ตามนุษย์เห็นนั่นเอง

.

ที่มา   : narit.or.th/index.php/astronomy-article/1015-sky-object-color

ภาพประกอบจาก   :   sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/nebiwla-klum-hmxk-ni-xwkas/nebiwla-swang/–nebiwla-reuxng-saeng