โปร 0 บาท สายการบิน

กลยุทธ์ โปร 0 บาท สายการบินเขาได้อะไร ทำไมถึงออกโปรแบบนี้

กลยุทธ์ โปร 0 บาท สายการบินเขาได้อะไร ทำไมถึงออกโปรแบบนี้

เชื่อเลยว่าใครหลายคน คงถูกอกถูกใจ และตั้งหน้าตั้งตา รอกับ โปร 0 บาท ของสายการบินต่างๆ เวลาไปเที่ยวแน่นอน แน่นอนแหละใครจะไม่ชอบของถูก จริงไหมล่ะ เราในฐานะผู้บริโภค ยิ่งถูกก็ยิ่งดี แต่ในฐานะของผู้ประกอบการ ในที่นี่คือ สายการบิน เขาได้อะไร

จากการออกโปรโมชั่น 0 บาทแบบนี้ เราลองมาหาคำตอบกัน ว่าทางสายการบิน จะได้อะไร

แน่นอนว่า ตั๋วโปรโมชั่น 0 บาทนั้น จะมีเฉพาะบางเที่ยวบิน และมีปริมาณที่จำกัด ตามที่นั่ง ทั้งหมดบนเครื่อง ตั๋วโปรโมชั่นในลักษณะนี้มักถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด สำหรับเส้นทาง การบินที่ได้รับ ความนิยมน้อย เพื่อเพิ่มปริมาณ ผู้โดยสารในเที่ยวบินนั้นๆ ให้มากขึ้น ดีกว่าปล่อยที่นั่งให้เสียไปเปล่าๆ อันนี้ มันก็ถูกของเขา ว่างๆ ไป ก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี เพราะต้นทุนหลัก ของสายการบิน คือ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และ ค่าพนักงาน ไม่ว่าจะที่นั่งเต็ม หรือไม่เต็ม ก็มีค่าใช้จ่าย ไม่ต่างกันมากนัก (แอร์ สจ๊วต เดินกันเต็มลำ ไม่มีผู้โดยสาร ก็ยังไงอยู่น่า 555 )

ดังนั้น สายการบิน เลยทำโปรโมชั่น มาเติมที่นั่งให้เต็ม เพื่อทำให้ สายการบินไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และในความเป็นจริง ถึงแม้ว่า เราสามารถ จองตั๋วเครื่องบิน 0 บาทได้ แต่ก็จะมีค่าบริการเสริม และค่าธรรมเนียมต่างๆ อีก เช่น ภาษีสนามบิน ค่าประกันเดินทาง ค่าเพิ่มน้ำหนักกระเป๋า หรือ แม้แต่ค่าอาหารว่างบนเครื่องบิน เป็นต้น

อีกสิ่งหนึ่ง ที่สายการบิน จะได้จากการ ออกเจ้าโปรโมชั่น 0 บาท นั่นก็คือ “การรับเงินค่าโดยสารล่วงหน้า” ก่อนที่ลูกค้า จะมาใช้บริการ เพราะปกติแล้วนั้น ตั๋วโปรโมชั่นลักษณะ ดังกล่าว ลูกค้ามักต้อง จองล่วงหน้าเป็นช่วงเวลานาน พอสมควร ซึ่งหมายความว่า สายการบิน จะมีเงินทุนมาใช้หมุนเวียนก่อน โดยที่ไม่จำเป็นต้อง ไปหาแหล่งเงินทุนที่เสียดอกเบี้ย เรื่องนี้จึง ทำให้สายการบินประหยัด ต้นทุนทางการเงินได้ อีกด้วย

ยกตัวอย่าง เช่น กรณีของ สายการบินแอร์เอเชีย ที่ออกตั๋วเครื่องบิน โปรโมชั่น 0 บาท จำนวน 5 ล้านที่นั่ง ทั้งเส้นทางบินในประเทศ และเส้นทางต่างประเทศ ซึ่งในจำนวน 5 ล้านที่นั่ง เมื่อผู้โดยสาร ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมให้แก่สายการบิน สมมติว่า เฉลี่ยตกคนละ 400 บาท หมายความว่า สายการบิน จะได้เงินมาใช้ก่อนถึง 2,000 ล้านบาท โดยที่ไม่มีต้นทุน ทางการเงิน อืมมันดีอย่างนี้นี่เอง 55

ซึ่งแทนที่ สายการบิน จะต้องไปกู้เงินมาใช้จ่ายในการบริหาร กับได้เงินมาก่อน (เขาคิดไกลกว่าเราจริงๆ 555)

เรื่องนี้ยังไม่รวม การประชาสัมพันธ์ สายการบินไปในตัว เพราะกลยุทธ์ ดังกล่าวเปรียบเสมือน เป็นการโฆษณา ที่ใช้ผู้โดยสาร หลายคนช่วยทำหน้าที่แทน เพราะตั๋วที่ราคาถูก ทำให้คนส่วนใหญ่ มักบอกกันปากต่อปาก เป็นการสร้าง Brand awareness โดยที่สายการบิน แทบไม่ต้อง ไปจ่ายค่าโฆษณา ให้เปลืองงบประมาณ

สรุปแล้ว เมื่อพิจารณาปัจจัยหลายๆ ข้อ เราจะเห็นว่า การออกตั๋วเครื่องบิน โปรโมชั่น 0 บาท ที่ดูเหมือนสายการบิน จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากเรา
แต่สุดท้ายแล้ว สายการบินอาจได้ ประโยชน์มากกว่า ที่เราคิดไว้ตั้งแต่แรก ขอฟรีหรือของถูก อาจไม่มีในโลกจริงๆ 555

ส่งท้าย ปัจจุบัน สายการบินต้นทุนต่ำ ที่ทำการบินในประเทศไทย มีด้วยกัน 6 สายการบินหลัก แต่ในปี 2019 ทุกสายการบิน ต่างขาดทุนกันหมด ต้องดูทิศทางกันต่อไปว่าจะมีโปรโมชั่น ถูกๆ แบบนี้ออกมาไหม ในเมื่อสายการบินต่างๆ พากันขาดทุน กันหมด

 

ขอบคุณข้อมูล จาก    :    ลงทุนแมน , digitalbusinessconsult.asia